Tag Archives: รากเทียม
การปลูกกระดูก ในการทำรากฟันเทียมคืออะไร ต้องทำตอนไหนในการทำรากฟันเทียม?
การปลูกกระดูก รากฟันเทียม คืออะไร ทำเมื่อไหร่? การปลูกกระดูก ในขั้นตอนการทำรากฟันเทียม จะทำในกรณีที่กระดูกบริเวณที่จะใส่รากฟันเทียมมีไม่เพียงพอที่จะฝังรากฟันเทียมได้ หรือมีกระดูกไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดความแข็งแรงของรากฟันเทียมในระยะยาว โดยอาจจะเกิดจากการสลายของกระดูกเนื่องจากการถอนฟันไปนานๆ หรือเกิดการติดเชื้อในบริเวณฟันก่อนถอน ซึ่งทำให้เกิดการละลายของกระดูกโดยรอบรากฟัน ทำไมต้องปลูกกระดูก รากฟันเทียมจะอยู่ในกระดูกขากรรไกร โดยรากฟันเทียมจะอยู่อย่างแข็งแรงในระยะยาวได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับกระดูกขากรรไกรที่รองรับรากฟันเทียมนั้นๆ [...]
การใส่ฟันทั้งขากรรไกรแบบ All-on-4 และ All-on-6 ต่างกันอย่างไร?
ในอดีตการใส่ฟันทดแทนติดแน่นทั้งขากรรไกร มักจะใช้รากฟันเทียม 8 ถึง 10 ราก รองรับสะพานฟันหรือฟันปลอม แต่ในปัจจุบัน มีเทคนิค “All-on”ขึ้นมา โดยจะวางตำแหน่งรากฟันเทียมตัวริมสุดให้เอียง เพื่อให้ครอบคลุมบริเวณด้านท้ายของฟันปลอม ด้วยความที่เทคนิกนี้ช่วยให้คนไข้ได้ฟันเร็วขึ้น และใช้รากฟันเทียมจำนวนน้อยลง จึงได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน [...]
การปลูกกระดูกร่วมกับการทำรากฟันเทียม กรณีที่กระดูกไม่เพียงพอ
หลายๆท่านที่เคยไปปรึกษาทันตแพทย์มาแล้ว และพบว่ากระดูกไม่พอที่จะทำรากฟันเทียมได้ จำเป็นต้องเสริมกระดูก วันนี้หมอจะมาอธิบายให้ฟังคร่าวๆนะคะ ถึงสาเหตุและวิธีการเสริมหรือแก้ปัญหาเรื่องนี้ เพื่อให้คนไข้ได้มีฟันใช้ต่อไปค่ะ เคสไหนบ้างที่กระดูกไม่พอ จากประสบการณ์ที่ทำรากฟันเทียมหลายร้อยราก ทั้งคนไทยและต่างชาติ พบว่าส่วนมากคนไข้คนไทย หรือคนเอเชียจะมีกระดูกค่อนข้างบาง และมีปัจจัยอื่นอีก เช่น การติดเชื้อบริเวณขากรรไกรซึ่งทำให้มีการทำลายของกระดูกบริเวณนั้น หรือ [...]
ทำรากเทียมแบบไม่เปิดเหงือกได้หรือไม่ ?
การทำรากฟันเทียมแบบ flapless หรือการทำโดยไม่เปิดเหงือก จะสามารถทำได้ในบางกรณี เช่นกรณีที่มีกระดูกเพียงพอ การทำจะทำโดยใช้ freehand หรือ ทำโดยการกำหนดตำแหน่งโดยความชำนาญของแพทย์ หรืออีกวิธีหนึ่งคือ computer guided ที่ทำโดยวางแผนการรักษาในโปรแกรมโดยใช้ข้อมูลจากเอกซเรย์และแสกนสามมิติ แล้วทำstentและปักตามแบบนั้นอย่างไรก็ตาม หากกระดูกไม่พอ [...]
ใส่รากเทียมพร้อมถอนฟันทำได้ไหม?
คำถามนี้เป็นคำถามที่หมอได้รับจากคนไข้บ่อยมาก เนื่องจาก คนไข้ส่วนมากตั้งใจจะเจ็บครั้งเดียว เลยคำตอบคือ ทำได้เป็นบางเคสค่ะ โดยในตัวอย่างเป็นเคสฟันหลัง มีฟันหักเหลือแต่ราก การติดเชื้อบริเวณรากฟันจำกัดอยู่ตรงปลายรากเท่านั้น และยังมีกระดูกเพียงพอในด้านของความสูง ที่จะยึดรากฟันเทียมได้การรักษาเริ่มต้นโดยการถอนฟัน พร้อมกับใส่รากเทียมยึดกับกระดูกที่เหลืออยู่ พร้อมกับใส่กระดูกเทียมในช่องว่าง รอประมาณสามเดือนจึงมาทำครอบปกติ วิธีนี้มีข้อดีคือ แทนที่จะต้องรอแผลหายก่อนแล้วค่อยมาทำรากเทียม [...]
จัดฟัน ต้องทำก่อน หรือ หลัง ทำรากฟันเทียม ?
มีคนไข้ที่มาปรึกษาการรักษาแบบ comprehensive treatment หลายท่าน โดยในหลายๆ เคสตั้งใจอยากจะทำทุกอย่างให้ดีทีเดียว เนื่องจากทิ้งปัญหาไว้นาน ส่วนมากมักจะตรวจพบฟันล้มจากการถอนฟันไปนานแล้วไม่ได้ใส่ฟัน บางท่านมีปัญหาการสบฟันอยู่แล้วการรักษาต้องเริ่มที่การเคลียร์ช่องปากเช่น อุด ถอน ครอบ รักษารากฟันที่ไม่สมบูรณ์ก่อน จากนั้น จัดฟัน [...]
Healing abutment หรือ gingival former คืออะไร?
Healing abutment หรือ gingival former เป็นฝาปิดรากเทียม ใช้ปิดรากเทียม ขณะที่รอรากเทียมยึดกับกระดูก(กรณีที่กระดูกดี ฝังรากเทียมได้ความแน่นเหมาะสม) หรือใส่หลังจากเปิดเข้าไปรักษาขั้นที่สอง(second stage)เพื่อแต่งรูปร่างเหงือกให้สวยงามก่อนทำครอบถาวร #implant#implants #implantologia #implantology #doctor.nalat#smileandshine [...]
ตัวอย่างเคส รากฟันเทียมขากรรไกรล่าง
ตัวอย่างเคสรากฟันเทียม ที่ใช้รากฟันเทียมและครอบฟันซี่ต่อซี่ ทำให้รากฟันมีความแข็งแรงและกระจายแรงบดเคี้ยวได้อย่างดี ในเคสนี้จะออกแบบด้วยระบบ สามมิติ ทำให้การปักรากทำได้อย่างแม่นยำ มีความขนานสวยงาม และแผลเล็ก (เคสนี้ไม่ได้เปิดเหงือกทำให้แผลหายเร็วมากขึ้น แม้จะทำทันทีหลังถอนฟันค่ะ
การใช้เลือดของผู้ป่วยมาใช้ในการปลูกกระดูก
รากฟันเทียมจะอยู่ได้แข็งแรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับกระดูกที่รองรับ ถ้ามีกระดูกที่รองรับเพียงพอ รากฟันเทียมที่ปลูกไปจะแข็งแรง คนไข้ที่มาทำรากฟันเทียมจะสงสัยว่าทำไมคุณหมอต้องเจาะเลือด ทำฟัน แล้วทำไมต้องมาเจาะเลือดจากแขน วันนี้จะมีคำตอบค่ะ เลือดที่เจาะไปนี้ หมอจะนำไปเข้าเครื่อง centrifugue หรือเครื่องปั่นเหวี่ยงความเร็วสูง โดยนำไปใส่หลอดแก้ว พอเราปั่นครบเวลาแล้ว เราจะได้สารสีเหลืองอ่อน มีความยืดหยุ่น [...]
ใครบ้างที่เหมาะกับการใส่รากฟันเทียม?
ในความเป็นจริงใช่ว่าทุกคนจะสามารถใส่รากฟันเทียมได้ ดังนั้นลำดับแรกผู้ที่สูญเสียฟันควรเข้าพบทันตแพทย์ เพื่อวินิจฉัยว่าสามารถใส่รากฟันเทียมได้หรือไม่ โดยปกติผู้ที่เหมาะสมกับการใส่รากฟันเทียมคือ ผู้ที่ฟันแตกหัก หรือฟันบิ่น โดยทันตแพทย์วินิจฉัยมาแล้วว่าควรถอนฟันออก ซึ่งเหมาะแก่การผ่ารากฟันเทียมแบบทันทีเพื่อไปทดแทนฟันที่ถูกถอนไป ผู้ที่ไม่ต้องการใส่ฟันปลอมถอดได้หรือมีความกังวลเกี่ยวกับการสวมใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ บุคคลที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เนื่องจากเด็กจะมีกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ผู้ที่มีกระดูกรองรับฟันพอดี โดยขนาด [...]
- 1
- 2