ไซนัส เป็น โพรงอากาศที่อยู่ในกระโหลกศรีษะ โดยจะเป็นส่วนหนึ่งของทางเดินหายใจ โดยจะเชื่อมต่อกับโพรงจมูก ผนังด้านในของไซนัสจะบุด้วยเนื้อเยื่อบางๆซึ่งเป็นเนื้อเยื่อกลุ่มเดียวกับทางเดินหายใจส่วนอื่นๆ
ความที่ไซนัสเป็นลักษณะโพรงอากาศ ทำให้กระโหลกศรีษะเรามีน้ำหนักเบาลง และทำให้การพูดมีเสียงก้องกังวาน
ไซนัสของทุกคนหน้าตาเหมือนกันหรือไม่
โพรงอากาศไซนัส เป็นโพรงอากาศที่มีเนื้อเยื่อทางเดินหายใจบุเหมือนกัน แต่แต่ละคนมีรูปร่างไซนัสไม่เหมือนกัน บางคนแคบ บางคนกว้าง โดยคนที่ถอนฟันกรามบนไปแล้วหรือมีอายุมาก จะ
ไซนัสเกี่ยวอะไรกับการทำฟัน
ไซนัสในกระโหลกมีหลายบริเวณ แต่บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทันตกรรม คือ โพรงอากาศแมกซิลา(Maxillary Sinus)โดย ตำแหน่งของไซนัสนี้จะอยู่บริเวณขากรรไกรบน ใกล้กับรากฟันกรามและฟันกรามน้อย
ดังนั้น การรักษาทางทันตกรรมในขากรรไกรบนบางกรณี เช่นการถอนฟัน การรักษารากฟัน ก็มีโอกาสที่จะเกิดการเชื่อมต่อกันระหว่าง ช่องปากและช่องทางเดินหายใจ ตลอดจนการติดเชื้อบริเวณรากฟันกรามบนก็มีโอกาสที่การติดเชื้อจะแพร่สู่บริเวณไซนัส เช่นเดียวกัน
แล้วไซนัสนี้เป็นอันเดียวกับที่เป็นหวัดแล้วคุณหมอบอกว่าเป็นไซนัสอักเสบหรือไม่?
ใช่แต่ไม่ทั้งหมด การติดเชื้อบริเวณไซนัส ทำให้เกิดไซนัสอักเสบนั้น อาจะเป็นที่ช่องอื่นๆ แต่ส่วนของทันตกรรมจะโฟกัสที่maxillary sinus เป็นหลัก
ไซนัสเกี่ยวกับรากฟันเทียมอย่างไร
การผ่าตัดไซนัสในการรักษารากฟันเทียม โดยมากจะเป็นการปลูกกระดูกร่วมกับการยกไซนัส เนื่องจากความสูงของสันกระดูกไม่เพียงพอที่จะรองรับรากฟันเทียมได้ เนื่องจาก การเสียหายของสันกระดูกเดิม หรือเมื่อถอนฟันไปนานๆ หรืออายุมากขึ้น เกิดการขยายตัวของโพรงไซนัส ทำให้ปริมาณของกระดูกขากรรไกรที่รองรับรากเทียมมีความสูงไม่เพียงพอ
การผ่าตัดเพื่อเสริมกระดูกในโพรงอากาศทำได้อย่างไร
การเสริมกระดูกร่วมกับยกโพรงอากาศไซนัสทำได้สองวิธีหลักๆ คือ
1.Crestal sinus lift กรณีที่ต้องการเสริมกระดูกไม่มาก ยังพอมีสันกระดูกเหลืออยู่บ้าง สามารถใช้เครื่องมือ ยกเยื่อบุโดยตรงจากบริเวณที่ทำรากฟันเทียม จากนั้นดันและใส่กระดูกเทียมไปทางช่องนั้นๆ โดยวิธีนี้มักจะทำร่วมกับการใส่รากฟันเทียมไปเลย โดยกรณีนี้จะไม่มีแผลเพิ่มเติมเนื่องจากจะทำการเติมกระดูกเทียมเข้าไปทางช่องที่ฝังรากฟันเทียม
2.Lateral approached sinus lift กรณีที่สันกระดูกเหลือน้อยมากๆ จะทำการเปิดทางเข้าสู่ผนังไซนัสทางด้านข้าง จากนั้นทำการยกเยื่อบุและใส่กระดูกเทียม วิธีนี้จะทำร่วมกับการใส่รากฟันเทียมหรือจะทำก่อน ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา โดยกรณีนี้จะทำเมื่อกระดูกขากรรไกรเหลือน้อยกว่า4มม.
ถ้าไม่อยากเสริมกระดูกในไซนัสสามารถทำได้หรือไม่?
ในเคสที่มีสันกระดูกเหลืออยู่บ้าง ประมาณ6-7มม.อาจจะใช้รากฟันเทียมที่สั้น short implant เพื่อหลีกเลี่ยงการปลูกกระดูก อย่างไรก็ตามจะขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา เนื่องจากต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆร่วมด้วย เนื่องจาก short Implant สั้นกว่าปกติ ทำให้มีผิวสัมผัสที่น้อยกว่ารากเทียมขนาดปกติ โดยในปัจจุบันรายงานการวิจัยถึงอัตราการประสบผลสำเร็จระยะยาวของรากเทียมขนาดสั้นมาก ยังมีไม่มากนัก
ค่าใช้จ่ายในการยกไซนัส
ค่าใช้จ่ายจะมีสองส่วนคือค่าหัตถการเนื่องจากกระบวนการยกไซนัสต้องใช้เทคนิค ประสบการณ์และความชำนาญของแพทย์มาก และอีกส่วนคือกระดูกเทียม และ/หรือ CGF ในกรณีที่แพทย์วางแผนให้ใช้