fbpx

สะพานฟันบนรากฟันเทียม

สะพานฟันหน้า

จุดเริ่มต้น

Starting point

มันต้องเป็นข่าวร้ายแน่ๆ ถ้าจู่ๆรู้ตัวอีกทีต้องถอนฟันหน้าหลายซี่ !!

………………………………

ปัญหาโรคเหงือก เป็นอีกหนึ่งในปัญหาที่ทำให้คนไข้สูญเสียฟัน
ส่วนมาก จะรู้ตัวเมื่อโยกมากแล้ว หมายความว่ากระดูกถูกทำลายไปหมดแล้ว

– สาเหตุของเคสลักษณะนี้ เกิดจากหินปูน ที่คืบคลานจากขอบเหงือก ลงไปใต้เหงือก ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง แล้วกระดูกก็ละลายไป
-พอกระดูกรอบฟันละลาย ฟันก็ไม่มีอะไรยึดอยู่ ก็โยก แล้วจะสูญเสียในที่สุด

– ถ้าดูตัวอย่างจากเอกซเรย์รูปแรก จะเห็นว่าแนวของกระดูกละลายไปหมด เหมือนฟันลอยอยู่ในเหงือกเฉยๆแล้ว

– เนื่องจากมีการสูญเสียกระดูกจากโรคเหงือก ทำให้ต้องปลูกกระดูกร่วมด้วย

– เคสนี้โชคดีที่คนไข้ มาตอนที่ยังไม่ได้ถอนฟัน หมอจึงทำ immediate implant placement คือ ถอนฟันแล้วใส่รากฟันเทียมทันที

– เคสนี้ทำทุกการผ่าตัดในครั้งเดียว คือ ถอนฟัน+ใส่รากฟันเทียม+ปลูกกระดูก+ปลูกเหงือก

– เนื่องจากสันเหงือกยุบไปมาก จึงทำ VIPCT (Vascularized interpositional periosteal connective tissue flap) พูดง่ายๆคือ ใช้เนื้อเยื่อจากเพดานปาก ทั้งสองข้างมาใส่ในบริเวณที่ทำ

-เนื่องจากสันเหงือกยุบมาก ใช้เนื้อจากข้างเดียวไม่พอ เลยต้องใช้จากสองข้าง

– การที่มีเหงือกหนา กระดูกหนา ทำให้ตอนที่ใส่สะพานฟัน ขนาดของสะพานฟัน เป็นขนาดเท่าซี่ฟันปกติ จึงมีความเป็นธรรมชาติมากกว่า

– (ถ้าเหงือกหรือกระดูกยุบไปมาก ถ้าไม่ปลูกก็จะได้ฟันยาวๆ หรือ เป็นฟันแล้วมีระบายสีชมพูตรงขอบเหงือก)

สรุป

เคสที่เป็นโรคเหงือก ต้องรักษาโรคเหงือกให้นิ่งก่อน ถึงจะทำรากฟันเทียมนะคะ เพราะต้องควบคุมการติดเชื้อในช่องปากให้น้อยที่สุดก่อน

คิดง่ายๆ ถ้าซี่อื่น บริเวณอื่นยังอักเสบ ติดเชื้อ แล้วเราผ่าตัด บริเวณที่ผ่าตัดก็จะติดเชื้อตามได้

และหลังจากใส่ฟันบนรากฟันเทียม ก็ต้องหมั่นมาพบแพทย์เพื่อ maintainance ดูแล ทั้งรากฟันเทียมและฟันอื่นๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้กลับมาเป็นโรคเหงือกซ้ำอีกค่ะ

Facebook Doctor.nalat