fbpx

การปลูกกระดูกในทันตกรรมรากฟันเทียม

รากฟันเทียม จะยึดในขากรรไกรด้วยกระบวนการ osseointegration คือมีการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกแทรกไปในผิวของรากเทียมที่มีความขรุขระ และจะยึดได้อย่างแข็งแรงถ้ามีการสร้างเนื้อเยื่ออย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่คนไข้ไม่มีกระดูก หรือกระดูกเพียงพอ รากฟันเทียมก็ไม่สามารถยึดอยู่ได้ ดังนั้น จึงต้องทำการปลูกกระดูก เพื่อให้รากฟันเทียมแข็งแรงและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

พื้นผิวของรากฟันเทียมจะมีความขรุขระ โดยในรุ่นนี้ใช้วิธี S.L.A คือ Sandblast Large grid Acid etch คือการพ่นทราย และ นำรากเทียมไทเทเนียมไปแช่ในกรด (จาก Dentium.com)

กระบวนการปลูกกระดูก ใช้เวลานานแค่ไหน

เซลล์กระดูกใช้เวลาประมาณสองเดือน ก็จะเริ่มสร้าง และจะสมบูรณ์เต็มที่เมื่อครบหกเดือน

กระดูกที่ใช้ปลูกเอามาจากไหน

กระดูกที่ใช้ปลูกใช้จากแหล่งต่างๆดังนี้

1.กระดูกของคนไข้เอง โดยตัดจากขากรรไกร หรือบริเวณต่างๆ เช่นสะโพก กระโหลกศรีษะ
2.กระดูกของสัตว์สปีชีส์เดียวกัน

3.กระดูกของสัตว์ต่างสปีชีส์ เช่น กระดูกวัว กระดูกหมู
4.กระดูกสังเคราะห์

โดยกระดูกที่นำมาใช้ ยกเว้นกระดูกของคนไข้เองจะเป็นรูปแบบที่ทำการสเตอไรด์ฆ่าเชื้อแล้ว จากนั้นแพทย์จะนำมาใช้ปลูกถ่าย

กระบวนการสร้างกระดูก

กระบวนการสร้าง และเหนี่ยวนำกระดูกที่ปลูกถ่ายนี้ เกิดจากเซลล์ที่มีหน้าที่สร้างกระดูก(Osteocyte)››และทำลายกระดูก(Osteoclast) ทำงานร่วมกันอย่างสมดุล โดยเมื่อกระดูกเทียมได้ใส่ไปในบริเวณที่ต้องการปลูกกระดูกแล้ว เซลล์สร้างกระดูกจะเคลื่อนที่มาพร้อมกับเลือดและทำการสร้างกระดูกจริงๆของเรา ในบริเวณนั้น โดย ถ้าเทียบง่ายๆคือ กระดูกเทียมมีหน้าที่เป็นโครงสร้าง จากนั้น เซลล์ของร่างกายจะสร้างกระดูกตามหลัง โดยใช้กระบวนการทั้งสิ้น หกเดือน

ภาพกำลังขยาย 100 เท่า ของกระดูกหลังจากปลูกกระดูกไป จะเห็นว่ามีเซลล์กระดูกอยู่ในกระดูกที่สร้างใหม่(สีฟ้า)
และมีการสะสมแร่ธาติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ(Dentium.com)

แบรนด์ที่ใช้ประจำที่คลินิกสไมล์แอนด์ชายน์

  • Bio-Oss เป็นกระดูกสังเคราะห์ที่ทำจากกระดูกวัว ผลิตในประเทศสวิสเซอร์แลนด์
https://www.geistlich-pharma.com/en/dental/bone-substitutes/bio-oss/user-benefits/

Straumann UK - Customer Portal
Jason membrane แผ่นปิดที่ทำจากเยื่อหุ้มหัวใจหมู มีความบางและเหนียวมาก ใช้ได้ดีในทุกบริเวณ
  • Jason membrane แผ่นปิดที่ทำจากเยื่อหุ้มหัวใจหมู มีความบางและเหนียวมาก ใช้ได้ดีในทุกบริเวณ
  • CGF สำหรับทำ Stickybone และ CGF MEMBRANE เป็นการปั่นเลือดของคนไข้เองด้วยเครื่องปั่นเหวี่ยงแยกสาร เพื่อแยกองค์ประกอบในเลือด เมื่อนำมาใช้ร่วมกับการปลูกกระดูก จะมีข้อดีคือ ไม่มีปฏิกริยาการต่อต้านจากร่างกาย เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายคนไข้เอง นอกจากนี้ยังช่วยให้แผลหายเร็ว เพราะใน CGF นั้นมีสารกลุ่ม growth factor/stem cell
Silfadent
การเจาะเลือดมาใช้ในการปั่น CGF

บทสรุป

รากเทียมก็เหมือนต้นไม้ ต้นไม้ที่ดินแน่น สมบูรณ์ ก็ทำให้ต้นไม้แข็งแรงงอกงาม ถ้าเราจะปลูกต้นไม้แต่ดินไม่ดีก็ต้องเติมดินให้แน่น บำรุงดินให้ดีต้นไม้จะงอกงาม

ถ้าเราจะใส่รากฟันเทียมให้มีความแข็งแรง อยู่ทนทาน ก็ต้องอยู่ในกระดูกที่ดี คนไข้ที่มีกระดูกดีก็สามารถใส่รากเทียมได้เลย ส่วนคนที่กระดูกไม่พอก็ต้องแต่งเติมกระดูกให้เพียงพอจะได้รับรากฟันเทียมได้อย่างแข็งแรง เทคนิคต้องดี เกรดของที่ใช้ต้องพรีเมี่ยม เพื่อให้ผลที่ดีที่สุด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *