การถอนฟันและผ่าฟันคุด
การถอนฟัน
การถอนฟันคือกระบวนการนำฟันออกจากปาก ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ฟันผุรุนแรง ฟันแตกหัก ฟันคุด หรือการติดเชื้อที่ไม่สามารถรักษาได้ กระบวนการนี้สามารถทำได้โดยทันตแพทย์ทั่วไปหรือศัลยแพทย์ช่องปาก ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของเคส
ขั้นตอนการถอนฟัน
1.ตรวจและวินิจฉัย: ทันตแพทย์จะตรวจสภาพฟันและสุขภาพช่องปาก เพื่อประเมินว่าฟันซี่นั้นควรถอนออกหรือไม่
2.การฉีดยาชา: ก่อนการถอน ทันตแพทย์จะฉีดยาชาบริเวณฟันที่จะถอน เพื่อช่วยลดความเจ็บปวด
3.การถอนฟัน: ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือถอนฟัน
4.การฟื้นตัว: หลังการถอนฟัน ผู้ป่วยจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลตัวเอง เช่น กดผ้าก๊อซเพื่อหยุดเลือด หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณที่ถอน และงดการสูบบุหรี่
การผ่าฟันคุด
ฟันคุด ( Impacted Tooth, Wisdom Tooth ) คือฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในตำแหน่งปกติได้เนื่องจากไม่มีที่เพียงพอในกระดูกขากรรไกรหรือถูกกีดขวางโดยฟันซี่อื่น
ฟันคุดที่พบได้บ่อยที่สุดคือฟันกรามซี่ที่สาม ซึ่งมักจะขึ้นมาในช่วงวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แต่ในบางกรณีก็สามารถพบฟันหน้า ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อยได้เช่นเดียวกัน
สาเหตุการเกิดฟันคุด
ฟันคุดเกิดจากมีฟัน เนื้อเยื่อ หรือกระดูกปิดขวางการงอกของฟันอยู่ จนทำให้ฟันไม่สามารถเติบโตพ้นเหงือกออกมาได้ แล้วกลายเป็นฟันคุด ปกติแล้วฟันคุด คือฟันซี่ที่ควรจะขึ้นในช่วงอายุประมาณ 18-25 ปี โดยอาจโผล่ขึ้นมาในลักษณะ ตั้งตรง เอียง หรือนอนในแนวราบ และมักจะอยู่ชิดกับฟันซี่ข้างเคียงเสมอและเป็นไปได้ว่าจะเบียดฟันซี่ข้างๆ หรืองอกขึ้นมาในขากรรไกร จึงเป็นที่มาที่ทำให้เกิดอาการปวดฟันรุนแรง สร้างความทรมานแก่คนไข้
อาการฟันคุด เมื่อเป็นมีลักษณะอย่างไร
- ปวดมากแบบไม่สามารถระบุได้ว่าปวดฟันซี่ใด
- ปวดบวม เป็นหนอง เพราะเหงือกอักเสบ
- บางรายอาจปวดศีรษะร่วมด้วย เพราะอาจเกิดการกดทับเส้นประสาทที่รากฟัน
- ฟันใกล้เคียงอาจถูกดันจนทำให้ฟันโยก หรือหักได้
- แต่ในบางรายอาจไม่พบอาการปวด
ประเภทของฟันคุด
1.ฟันคุดบางส่วน: ฟันขึ้นมาได้เพียงบางส่วน ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อและอักเสบในเหงือก
2.ฟันคุดทั้งหมด: ฟันไม่ได้โผล่ขึ้นมาจากเหงือกเลย อยู่ภายในกระดูกขากรรไกร
ทำไมต้องผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด
- เพื่อป้องปัญหาเหงือกอักเสบ เพราะเมื่อฟันคุดไม่สามารถโผล่ออกมาทั้งซี่ฟัน จะมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือกที่คลุมฟัน ไม่สามารถทำความสะอาดได้ เชื้อแบคทีเรียที่มาสะสมอยู่จะทำให้เหงือกอักเสบ ปวดและบวมเป็นหนอง ถ้าทิ้งไว้การอักเสบจะลุกลามไปใต้คาง หรือใต้ลิ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ง่าย
- มีโอกาศที่ฟันข้างเคียงผุ เนื่องจากซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ข้างเคียงทำความสะอาดได้ยากอาจะทำให้ฟันผุได้
- ฟันคุดมีโอกาสทำให้เกิดถุงน้ำ เมื่อมีฟันคุดเนื้อเยื่อรอบอาจพัฒนาเป็นถุงน้ำหรือเนื้องงอกได้
- เพื่อป้องกันใบหน้าผิดรูป ฟันคุดส่วนมากอยู่ติดกับขากรรไกร เมื่อฟันคุดเกิดการเคลื่อนตัวเบียดขากรรไกรไปเรื่อยๆ จะทำให้ใบหน้าผิดรูปได้ หรืออาจทำให้ขากรรไกรหักได้
- เพื่อการจัดฟัน ให้ง่ายต่อการเคลื่อนฟันซี่อื่น ๆ
ขั้นตอนการผ่าฟันคุด
1.การวินิจฉัยด้วยการเอ็กซเรย์: เพื่อดูตำแหน่งและลักษณะของฟันคุดว่าต้องใช้การผ่าตัดหรือไม่
2.การฉีดยาชา: ทันตแพทย์จะใช้ยาชาแบบทาก่อนที่จะฉีดยาชาเฉพาะที่ จากนั้นจะฉีดยาชาเฉพาะที่
3.การผ่าฟัน: ทันตแพทย์จะผ่าตัดเปิดเหงือกและกระดูกบริเวณรอบฟันคุดเพื่อนำฟันออก และบางกรณีอาจต้องแบ่งฟันออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนนำออก
4.การเย็บแผล: หลังจากนำฟันออกแล้ว จะเย็บแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อและช่วยในการหายของแผล
5.การดูแลหลังผ่าตัด: ผู้ป่วยจะต้องระมัดระวังการกินอาหารและการทำความสะอาดช่องปาก งดอาหารแข็งหรือร้อนเพื่อป้องกันการระคายเคืองบริเวณแผล
การดูแลหลังการถอนฟันและผ่าฟันคุด
1.การห้ามเลือด: ใช้ผ้าก๊อซกดแน่นบริเวณแผลจนกว่าเลือดจะหยุด
2.การประคบเย็น: ประคบเย็นบริเวณที่ผ่าตัดเพื่อลดบวม
3.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่: เนื่องจากการสูบบุหรี่อาจทำให้แผลหายช้าลงและเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
4.อาหารอ่อน: เลือกอาหารที่นุ่มและง่ายต่อการเคี้ยว เช่น โจ๊ก ซุป หรือข้าวต้ม
5.ยาที่แพทย์สั่ง: รับประทานยาปฏิชีวนะและยาแก้ปวดตามที่ทันตแพทย์แนะนำ
สรุป
การถอนฟันและการผ่าฟันคุดเป็นกระบวนการที่ต้องทำภายใต้การดูแลของทันตแพทย์ ซึ่งทั้งสองกระบวนการนี้สามารถทำได้อย่างปลอดภัยเมื่อได้รับการดูแลที่เหมาะสม
คำถามเกี่ยวกับการผ่าฟันคุดที่พบบ่อย
อาจมีอาการปวดและบวมมากๆประมาณ 2-3 วัน แต่จะหายไปได้เอง และแผลใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์จึงจะเป็นปกติ
หากพบว่ามีฟันคุดหรือพบอาการปวดฟันเมื่อไหร่ ควรนำฟันคุดออกให้เร็วที่สุด การผ่าตัดในช่วงที่อายุยังน้อย สามารถทำได้ง่าย แผลหายเร็ว
โดยปกติทันตแพทย์มักแนะนำให้นำฟันคุดออกในทุกกรณี แต่อาจจะไม่นำฟันคุดออกทันที เมื่อทันตแพทย์วินิจฉัยว่าควรติดตามความเปลี่ยนแปลงของฟันคุดซึ่งใช้เวลาหลายเดือนเพื่อให้ฟันคุดเคลื่อนตัวมายังจุดที่เหมาะสมแก่การผ่า
เมื่อพบฟันคุดแล้วไม่ผ่าออกได้หรือไม่นั้น จะพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ รวมด้วย เช่น ตำแหน่งของฟันคุด หรืออายุ ดังนั้นควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
คำตอบคือไม่จำเป็นต้องรอให้เห็นฟันคุด สามารถเอาออกได้ทันที
ฟันคุดเป็นฟันที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงไม่สามารถป้องกันได้ สิ่งที่ดีที่สุดคือการตรวจเช็คสุขภาพช่องปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ หากพบความผิดปกติ จะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที
ศัลยกรรมช่องปาก(Oral Surgeon)
ทพญ.พัชรินทร์ สอดศรี
Dr.Patcharin Sodsri
Oral Surgeon
- DDS., Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University, Thailand, 2001
- Certificate in Oral and Maxillofacial Surgery, Mahidol University
ทพญ.อิสิ สวัสดิจีระ
Dr.Ih-si Sawasdichira
Oral Surgeon
- DDS., Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University, Thailand, 2001
- Certificate in Oral and Maxillofacial Surgery, Mahidol University