รากฟันเทียม คืออะไร

รากฟันเทียม(Dental implant)

แม้ว่าจะไม่มีใครอยากให้เกิดการสูญเสียฟันแท้ขึ้น แต่ถ้าปัญหาเกิดแล้ว ถ้าละเลยและปล่อยทิ้งไว้จะก่อให้เกิดปัญหาระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นฟันล้ม การสบฟันเปลี่ยน หรือ เกิดปัญหากับฟันข้างเคียง วันนี้หมอจะมาเล่าให้ฟัง ให้ได้มาทำความรู้จักประโยชน์ และ ประสิทธิภาพของ รากฟันเทียม ว่ามีจุดเด่น และ สามารถรักษาฟันแบบไหนได้บ้าง

รากฟันเทียม คือ อะไร

รากฟันเทียม หรือ ทันตกรรมรากเทียม(dental implant) คือ การทดแทนการสูญเสียฟันแท้ที่สูญเสียไปไปด้วยการผ่าตัด ฝังรากฟันเทียมที่ทำจากโลหะเพื่อยึดติดกับกระดูกขากรรไกรของคนไข้ ตรงตำแหน่งที่สูญเสียฟันเเละรากฟันธรรมชาติไป เพื่อเป็นหลักยึดฟันปลอม หรือครอบฟัน ทดแทนฟันที่หลุดไป เพื่อให้ฟันบดเคี้ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่าฟันจริง

ขณะที่การทำฟันปลอมแบบอื่น ๆ อาจจะพบปัญหาเรื่องความไม่เป็นธรรมชาติ มีการเคี้ยวอาหารที่ติดขัดอยู่บ่อยๆ รากฟันเทียมเป็นทันตกรรมฟันปลอมแบบติดแน่นที่มีคุณสมบัติเหมือนฟันธรรมชาติ จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด ที่ช่วยทำให้ฟันยังคงอยู่ครบ ทานอาหารได้ราบรื่นกว่า ไม่ต้องวุ่นวายถอดฟันปลอม และดูแลทำความสะอาดได้ง่ายแสนง่ายไม่ต่างจากฟันแท้ของเรา โดยเฉพาะถ้าได้รับการดูแลรักษารากฟันเทียมด้วยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็จะยิ่งทำให้คุณทานอาหารได้ง่าย พูดคุย และยิ้มได้อย่างมั่นใจ

ส่วนประกอบของรากฟันเทียม

  • รากฟันเทียม (Fixture) มีลักษณะคล้ายสกรูหรือน๊อต เป็นส่วนที่ฝังไปในกระดูกขากรรไกร ทำจากไทเทียมหรือเซอร์โคเนียม เมื่อมีการยึดติดสมบูรณ์แล้วจะมีความแข็งแรงมาก ทำหน้าที่เป็นหลักยึดให้กับส่วนอื่น
  • Abutment คือ แกน/เดือย ที่ทำจากไทเทเนียม หรือ เซอร์โคเนียม จะยึดติดกับ fixture ด้วยสกรู มีหน้าที่ทดแทนโครงสร้างแกนฟัน ในการยึดติดระหว่างครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอม กับรากฟันเทียม
  • Prosthesis คือ ส่วนของครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอมที่ยึดกับ Abutment ทำจากเซรามิค(Porcelain) หรือ Acrylic ทำหน้าที่เป็นที่บดเคี้ยวอาหาร ต้องแข็งแรงพอที่จะรับแรงบดเคี้ยวได้ดี
dental implant component

รากฟันเทียมทำจากอะไร?

วัสดุที่ใช้ทำรากฟันเทียม

รากฟันเทียม เป็นรากที่ทำจากโลหะ โดยในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการผลิตรากฟันเทียมที่พัฒนา เพื่อเพิ่มคุณสมบัติของรากฟันเทียมให้ดียิ่งขึ้น

  • Titanium(ไทเทเนี่ยม) เกรด3, ไทเทเนี่ยมเกรด4 ยังคงเป็นวัสดุนิยมที่มาใช้ผลิตรากฟันเทียมมากที่สุดในปัจจุบัน
  • Roxolid หรือ TiZr เป็นเทคโนโลยีของ Straumann โดยเป็นอัลลอยด์หรือโลหะผสมของเซอร์โคเนียมและไทเทเนียม ทำให้รากมีความแข็งแรง และรับแรงบดเคี้ยวได้มากกว่าไทเทเนียมปกติ
  • Trabecular implant ของ Zimmerbiomet
  • Pure zirconia implant ใช้ในบริเวณที่ต้องการความสวยงาม เนื่องจากเป็นโลหะสีขาว ทำให้ไม่สะท้อนสีดำผ่านเหงือก

โดยวัสดุที่นำมาผลิตรากฟันเทียม เป็นวัสดุที่เข้ากันได้กับร่างกายมนุษย์เป็นอย่างดี เมื่อฝังเข้าไปในกระดูกขากรรไกร เพื่อทดแทนฟันธรรมชาติ รากฟันเทียมจะเป็นหลักเพื่อรองรับครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอม เพื่อให้คนไข้ได้กลับมามีฟัน เหมือนได้ฟันแท้กลับมาอีกครั้ง

พื้นผิวของรากฟันเทียม

พื้นผิวของรากฟันเทียมจะมีการพัฒนาเพื่อส่งเสริมกระบวนการยึดติด(Osseointegration)ให้ดีขึ้น เร็วขึ้น โดยจะมีการเตรียมพื้นผิวด้วยกระบวนการต่างๆ เช่น SLA-Sandblast Large grid -Acidetchโดยจะนำไทเทเนียมมาพ่นทรายและแช่ในกรด ,Anodize-การใช้กระแสไฟฟ้า เพื่อต้องการให้ไทเทเนียมนี้มีรูพรุนและความขรุขระที่พื้นผิวของไทเทเนียม เพื่อส่งเสริมการยึดติดนั่นเอง โดยเซลล์ของกระดูกที่วิ่งมาพร้อมกับเลือด จะแทรกซึมไปในผิวรากเทียมและสร้างกระดูกยึดจนเป็นเนื้อเดียวกันกับกระดูกขากรรไกรที่เหลือ

รากฟันเทียมมีกี่แบบ

metal free implant

รากฟันเทียมซี่เดียว (Single Dental Implant)


การทำรากฟันเทียมแบบซี่เดียวเหมาะกับคนไข้มีฟันซี่เดียวหายไปหรือหลายซี่ที่ไม่ได้อยู่ติดกัน

สะพานฟันบนรากฟันเทียม

รากฟันเทียมหลายซี่ (Implant-supported bridge)


เป็นการใช้รากฟันเทียม 2 รากเพื่อรองรับสะพานฟัน 3-4 ซี่ เหมาะกับคนไข้ที่สูญเสียฟันหลายซี่ที่อยู่ติดกัน

รากฟันเทียมทั้งปาก allon4

รากฟันเทียมทั้งปาก (ALL-ON-4,ALL-ON-X)


การใช้รากฟันเทียม 4-6 รากเพื่อรองรับฟันปลอมทั้งขากรรไกร

อ่านเพิ่ม

กรณีที่ฟันหาย 1 ซี่
รากฟันเทียม 1 ซี่(Single dental implant)

สามารถใส่ฟันเทียมติดแน่นได้ โดยการทำรากฟันเทียม หรือ การทำสะพานฟัน แต่การทำรากฟันเทียมจะได้ผลที่ดีที่สุดเนื่องจากใส่รากฟันเทียมในกระดูกขากรรไกรในตำแหน่งที่สูญเสียฟันโดยไม่ต้องกรอฟันข้างเคียงการทำความสะอาดทำได้ง่าย การซ่อมแซมดูแลรักษาทำได้ง่าย สามารถซ่อมแซมเฉพาะที่ได้แตกต่างจากการทำสะพานฟันซึ่งส่วนครอบฟันจะติดกันทั้งหมด ถ้าหากซี่ใดซี่หนึ่งมีปัญหา ต้องรื้อมาแก้ทั้งหมด และการทำสะพานฟัน น้ำหนักการบดเคี้ยวจะลงบริเวณฟันหลักยึด ทำให้ถ้าฟันหลักยึดไม่แข็งแรงอาจจะเป็นอันตรายต่อฟันทั้งชุดได้

กรณีฟันหาย 3 ซี่ติดกัน
สะพานฟันบนรากฟันเทียม(Implant supported bridge)

สามารถทำรากฟันเทียมและสะพานฟันบนรากฟันเทียมได้ โดยทำรากฟันเทียมจำนวนสองรากและสะพานฟันสี่ตำแหน่ง มีข้อดีคือลดจำนวนรากฟันเทียมลงและสามารถหลีกเลี่ยงบริเวณที่ไม่สามารถใส่รากฟันเทียมได้

กรณีฟันหายจำนวนมาก หรือ สูญเสียฟันทั้งขากรรไกร
รากฟันเทียมทั้งปาก หรือ รากฟันเทียมยึดฟันปลอมทั้งปาก
(Fullarch implant)

รากฟันเทียมสามารถช่วยทดแทนฟันได้ทั้งแบบติดแน่น และแบบถอดได้ โดยแบบติดแน่นทันตแพทย์จะทำการฝังรากเทียมจำนวน 4, 6 หรือ 8 ตัวต่อ 1 ขากรรไกร ส่วนแบบถอดได้จะฝังรากฟันเทียมจำนวน 2-4 ตัว

รากฟันเทียม;ทำหน้าที่อย่างไร

  1. รากฟันเทียม ป้องกันฟันล้ม
  2. รากฟันเทียมช่วยรับแรงบดเคี้ยว
  3. รากฟันเทียมฟันหน้า ช่วยในการออกเสียง
  4. รากฟันเทียม มีความใกล้เคียงฟันธรรมชาติมาก ทำให้มีบุคลิกภาพที่ดี
  5. รากฟันเทียม ช่วยให้คนไข้กลับมามีความมั่นใจ
  6. เมื่อใส่ฟันหลังด้วย รากฟันเทียม ช่วยให้ความสูงใบหน้าเพิ่มขึ้น ทำให้ริ้วรอยบนใบหน้าลดลง ใบหน้าดูอ่อนเยาว์ขึ้น
  7. รากฟันเทียม ช่วยให้ทานอาหารได้ปกติ ระบบย่อยอาหารกลับมาทำงานเป็นปกติ สุขภาพร่างกายแข็งแรง

กรณีไหนที่ต้องทำรากฟันเทียม:ใครควรใส่รากฟันเทียม

ปัจจัยสำคัญ คือ คนไข้ต้องการฟันเทียมที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด ต้องการยิ้มและพูดคุยอย่างมั่นใจ ต้องการการบดเคี้ยวที่ดี หรือทดแทนฟันที่เหลืออยู่ซึ่งไม่แข็งแรง ไม่เหมาะเป็นฟันหลักยึดให้กับฟันเทียมชนิดอื่นๆ แม้แต่ในรายที่ทำฟันปลอมแบบถอดได้แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ รากฟันเทียมมีส่วนช่วยได้อย่างมากในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ปัจจุบันการใส่รากฟันเทียมในกรณีที่ฟันหายไป รากฟันเทียม ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในกรณีที่มีฟันหายไป    1-2 ซี่ รวมถึงรากฟันเทียมก็มีส่วนช่วยให้ฟันเทียมชนิดถอดได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เรียกได้ว่ารากฟันเทียมมีส่วนช่วยในการทำฟันเทียมเกือบทุกกรณี

  • ผู้ที่สูญเสียฟันแท้จากอุบัติเหตุ
  • ผู้ที่มีฟันแตก หัก ซึ่งทันตแพทย์พิจารณาว่าไม่สามารถรักษาได้อีกต่อไป
  • เหงือกบริเวณที่จะทำการปลูกรากฟันเทียม ไม่มีการอักเสบหรือติดเชื้อ ซึ่งอาจส่งผลให้การปลูกรากฟันเทียมล้มเหลวได้
  • ผู้ที่ไม่ต้องการใส่ฟันปลอมถอดได้หรือมีความกังวลเกี่ยวกับการสวมใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้
  • ผู้ที่ใส่ฟันปลอมทั้งปากแต่ประสบกับปัญหากระดูกขากรรไกรล่างยุบตัวลงมาก ทำให้ฟันปลอมหลุดได้ง่าย ซึ่งการฝังรากฟันเทียมจะช่วยยึดฟันปลอมให้แน่นขึ้น
  • บุคคลที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เนื่องจากเด็กจะมีกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่

ใครที่ไม่แนะนำให้รักษาด้วยรากฟันเทียม - ไม่สามารถทำรากฟันเทียมได้

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อการหายของกระดูก เช่น ผู้ป่วยที่รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยไขข้ออักเสบ
  • คนไข้ที่มีโรคประจำตัวที่ควบคุมไม่ได้ เช่น เบาหวาน มะเร็ง ลูคีเมีย
  • ผู้ป่วยที่รับยาบางชนิดที่ส่งผลต่อกระบวนการสร้างและทำลายกระดูก
  • ผู้ที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์
  • อายุต่ำกว่า 18 ปีเนื่องจากยังมีการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกร

ข้อดี และ ข้อเสีย ของการทำรากฟันเทียม

ข้อดีของการทำรากฟันเทียม

เนื่องจากการทำรากฟันเทียมถือเป็นการใส่ฟันที่ดีที่สุดในปัจจุบัน และมีความเป็นธรรมชาติมากที่สุด จึงช่วยให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนี้

  • คนไข้มีความมั่นใจ บุคลิคภาพดูดียิ่งขึ้น
  • คนไข้กลับมาเคี้ยวอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้งานบดเคี้ยวได้ไม่ต่างกับฟันธรรมชาติ
  • มีความรู้สึกเหมือนได้ฟันธรรมชาติกลับคืนมาก การทดแทนด้วยรากฟันเทียมจะมีความเป็นธรรมชาติมากกว่าการใส่ฟันปลอมชนิดอื่น
  • สามารถใส่ฟันได้โดยไม่ต้องกรอแต่งซี่ข้างเคียง
  • ดูแลทำความสะอาดง่ายขึ้น ทำให้สุขภาพอนามัยช่องปากคนไข้ดีขึ้น
  • สามารถพูดและออกเสียงได้ชัดเจน
  • สามารถรับประทานอาหารที่อยากทานได้ เหมือนได้ฟันธรรมชาติกลับคืนมา
  • ลดปัญหาการหลุด หลวม และความวิตกกังวลเกี่ยวกับฟันปลอม
  • มีความคงทนถาวร
  • คนไข้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งร่างกายและจิตใจ
  • มีความปลอดภัยสูง รากฟันเทียมทำจากไทเทเนียม medical grade จึงสามารถมั่นใจได้ว่ารากฟันเทียมเข้ากันได้ดีกับร่างกาย
  • สามารถใช้กับการใส่ฟันได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นรากฟันเทียมร่วมกับครอบฟันทดแทนฟันหนึ่งซี่ รากฟันเทียมร่วมกับสะพานฟันทดแทนฟันหลายซี่ และรากฟันเทียมรองรับฟันปลอม ในกรณีที่สูญเสียฟันไปมาก

ข้อจำกัดของรากฟันเทียมเมื่อเทียบการใส่ฟันชนิดอื่น

  • ระยะเวลาในการทำรากฟันเทียม อย่างน้อยใช้เวลา 2 เดือน และอาจจะใช้เวลาถึงปี แต่สะพานฟันใช้เวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์
  • ขั้นตอนการรักษารากฟันเทียมยุ่งยาก ซับซ้อนกว่า
  • รากฟันเทียมต้องทำการผ่าตัด

ปัจจุบันราคารากฟันเทียมกับสะพานฟันไม่ต่างกันมาก เมื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยแล้ว การทำรากฟันเทียม จึงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นและการทำสะพานฟันมีแนวโน้มลดลง

เปรียบเทียบการใส่ฟันแบบต่างๆ รากฟันเทียม-สะพานฟัน-ฟันปลอม

รากฟันเทียมต่างจากฟันปลอมถอดได้อย่างไร

คนไข้หลายคนที่สูญเสียฟันไป การทำฟันปลอมแบบธรรมดาจะมีปัญหาในเรื่องของความรู้สึกเวลาใส่ที่เกะกะ ไม่สบาย อาจจะมีจุดกดเจ็บ จุดนูน และถ้าฟันปลอมใหญ่มากจะรู้สึกเทอะทะและคลื่นไส้ นอกจากนี้ฟันปลอมยังต้องถอดเข้าออก ทำให้ไม่สะดวกสบาย

แต่การทำรากฟันเทียม ฟันปลอมจะยึดติดกับรากฟันเทียมที่ฝังในกระดูกขากรรไกร ทำให้ฟันที่ใส่บนรากฟันเทียมติดแน่น ไม่ต้องถอดเข้าออก และสวยงามเหมือนคนไข้ได้ฟันธรรมชาติกลับคืนมา

สรุป

  • รากฟันเทียม เป็นฟันปลอมติดแน่น ไม่ต้องถอดเข้า ถอดออก
  • รากฟันเทียมมีความสวยงาม เป็นธรรมชาติ
  • ครอบรากฟันเทียมทำจากเซอร์โคเนียซึ่งมีความแข็งแรงกว่า เมื่อเทียบกับฟันปลอมที่ทำจากอะคริลิก
  • รากฟันเทียมยึดกับกระดูก ทำให้รับแรงบดเคี้ยวได้ดีกว่าฟันปลอมที่ยึดกับฟันและวางบนสันเหงือก

รากฟันเทียม แตกต่างจากสะพานฟันอย่างไร

รากฟันเทียม และสะพานฟันต่างจัดว่าเป็นการใส่ฟันชนิดติดแน่นทั้งคู่

ในการทำสะพานฟันต้องกรอฟันหัวท้ายช่องว่างเพื่อเป็นหลักในการสวมสะพานฟัน ซึ่งมีลักษณะเป็นครอบฟันที่ติดกัน ยึดบนหลักคือฟันแท้ของคนไข้เอง

แต่รากฟันเทียมไม่ต้องกรอฟัน แต่เป็นการใส่รากฟันเทียมไทเทเนียมในกระดูกขากรรไกร ทำให้ไม่ต้องไปกรอหรือยุ่งกับฟันซี่อื่นๆ และหากมีปัญหาสามารถแก้ไขโดยไม่ต้องไปรื้อฟันทั้งหมด

สรุป

  • สะพานฟันต้องกรอฟันข้างเคียง ทำให้เสียเนื้อฟัน การทำรากฟันเทียมไม่จำเป็นต้องกรอฟันข้างเคียง
  • กรอฟันข้างเคียงจะทำให้ ฟันที่เป็นหลักอ่อนแอลง ถ้าทำความสะอาดไม่ได้ จะทำให้เกิดการผุต่อบริเวณรอยต่อ และสูญเสียฟันหลักในอนาคต
  • ทำความสะอาดยาก

เทคโนโลยีการทำรากฟันเทียม

1. เอกซเรย์สามมิติระบบดิจิตอล (Digital 3D CBCT)

เอกซเรย์สามมิติ (CBCT) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างภาพโครงสร้างกระดูกขากรรไกร เส้นประสาท และเนื้อเยื่อโดยรอบแบบสามมิติ

  • ช่วยให้ทันตแพทย์เห็นตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการฝังรากฟันเทียม
  • เพิ่มความแม่นยำในการวางแผนและลดความเสี่ยงในการผ่าตัด

2. การวางแผนฝังรากฟันเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Guided Implant Planning)

ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยวางแผนการฝังรากฟันเทียมแบบสามมิติ

  • ช่วยกำหนดตำแหน่ง ความลึก และมุมของรากฟันเทียมได้อย่างแม่นยำ
  • ลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาดระหว่างการรักษา และทำให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด
อ่านเพิ่มเติม

3. การใช้ CGF (Concentrated Growth Factors) โดย MEDIFUGE Silfradent

CGF เป็นเทคโนโลยีที่ใช้เลือดของผู้ป่วยเพื่อสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์

  • ช่วยในการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อและกระดูกรอบรากฟันเทียม
  • เพิ่มความเร็วในการสมานแผลและลดโอกาสการติดเชื้อ
อ่านเพิ่มเติม

4. เครื่องสแกนภายในช่องปาก (Intraoral Scanner) 3Shape

Intraoral Scanner จาก 3Shape เป็นเทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้สแกนภายในช่องปาก

  • ช่วยสร้างแบบจำลองฟันและเหงือกแบบสามมิติ
  • ลดการพิมพ์ปากแบบเดิม เพิ่มความแม่นยำและความสะดวกสบายให้กับผู้ป่วย

5. Plasma Activator

เครื่อง Plasma Activator ช่วยกระตุ้นพื้นผิวของวัสดุรากฟันเทียม

  • เพิ่มการยึดติดระหว่างรากฟันเทียมและกระดูกขากรรไกร
  • ช่วยให้รากฟันเทียมฟื้นตัวเร็วและใช้งานได้ยาวนานขึ้น

6. UV Activator

UV Activator เป็นเทคโนโลยีที่ใช้แสง UV ในการทำความสะอาดและกระตุ้นพื้นผิวของรากฟันเทียม

  • ช่วยขจัดสิ่งปนเปื้อนที่อาจตกค้างบนรากฟันเทียม
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะกับกระดูก

7. Densah Bur Osseodensification

Densah Bur เป็นเครื่องมือที่ใช้เทคนิค Osseodensification

  • ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกโดยไม่ทำให้กระดูกเสียหาย
  • ลดความจำเป็นในการปลูกกระดูก และทำให้กระดูกยึดรากฟันเทียมได้แน่นหนายิ่งขึ้น

ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม: คู่มือสำหรับผู้สนใจ

1. การปรึกษาและวางแผนการรักษากับทันตแพทย์

ก่อนเริ่มต้นการรักษา ผู้ป่วยควรเข้ารับคำปรึกษาจากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบและวางแผนการรักษา ซึ่งประกอบด้วย:

  • การพูดคุยเกี่ยวกับชนิดของรากฟันเทียมและฟันเทียมที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
  • การพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อการรักษา เช่น โรคประจำตัว (เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง หอบหืด) หรืออาการแพ้ต่างๆ (แพ้ยา แพ้โลหะ) ซึ่งผู้ป่วยต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อปรับแผนการรักษาให้เหมาะสม
  • การใช้ X-ray Digital 3D CBCT (CT SCAN) เพื่อตรวจสอบโครงสร้างกระดูก เส้นประสาท และกำหนดตำแหน่งรากฟันเทียมอย่างละเอียด

หมายเหตุ: การปรึกษาทันตแพทย์ในขั้นตอนนี้ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับแผนการรักษาที่ตอบโจทย์ความต้องการ และลดความเสี่ยงในการรักษา

2. การตรวจและเตรียมความพร้อมของกระดูก

เมื่อได้รับการประเมินเบื้องต้น ทันตแพทย์จะตรวจสอบสภาพช่องปากและกระดูกของผู้ป่วย รวมถึงการติดเชื้อที่อาจมีอยู่ หากพบปัญหา เช่น กระดูกไม่เพียงพอหรือติดเชื้อ จะต้องทำการรักษาก่อน:

  • กรณีการติดเชื้อ: รักษาอาการติดเชื้อก่อนการฝังรากฟัน อาจใช้เวลา 2-8 สัปดาห์
  • กรณีโครงสร้างกระดูกไม่เพียงพอ: อาจต้องปลูกกระดูกเพิ่มเติม เพื่อรองรับรากฟันเทียม

3. การผ่าตัดฝังรากฟันเทียม

เมื่อกระดูกและช่องปากพร้อม ทันตแพทย์จะดำเนินการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมโดยใช้วัสดุไทเทเนียมที่ปลอดภัยและเข้ากับร่างกายได้ดี:

  • ฉีดยาชาเฉพาะที่เพื่อลดความเจ็บปวด
  • ฝังรากฟันเทียมลงในกระดูกขากรรไกร พร้อมเย็บปิดแผล
  • นัดตัดไหมใน 14-21 วัน และรอประมาณ 3-4 เดือน เพื่อให้รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกรอย่างสมบูรณ์

4. การติดตั้ง Abutment และการพิมพ์ปาก

เมื่อรากฟันเทียมยึดติดกับกระดูกเรียบร้อยแล้ว:

  • ติดตั้ง Abutment หรือหลักยึดโลหะที่รองรับครอบฟันหรือสะพานฟัน
  • ใส่ เครื่องมือช่วยสร้างร่องเหงือก (Gingival Former) เพื่อเตรียมพื้นที่
  • พิมพ์ปากเพื่อส่งทำครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอมที่เหมาะสม

5. การติดตั้งครอบฟันหรือฟันปลอม

  • ทันตแพทย์จะติดตั้งครอบฟันหรือสะพานฟันด้วยสารยึดติดทางทันตกรรม
  • ผู้ป่วยจะได้ฟันที่มีรูปลักษณ์สวยงาม และการใช้งานใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ

6. การดูแลและติดตามผลหลังการรักษา

  • หลังการติดตั้งรากฟันเทียม ผู้ป่วยควรดูแลรักษาความสะอาดช่องปากอย่างสม่ำเสมอ และเข้ารับการตรวจเช็กจากทันตแพทย์ทุก 6-12 เดือน เพื่อความมั่นใจว่ารากฟันเทียมยังคงอยู่ในสภาพดี

การดูแลหลังทำรากฟันเทียม

ระยะเวลาพักฟื้นหลังจากทำรากฟันเทียม

ปกติการทำรากเทียมใช้เวลาพักฟื้นเพียง 1-2 วันเท่านั้น ถ้าคนไข้มีกระดูกรองรับรากเทียมไม่เพียงพอ หรือมีเนื้อเยื่อเหงือกที่คุณภาพไม่ดี ต้องมีขั้นตอนการผ่าตัดเสริมกระดูก หรือเสริมเนื้อเยื่อเหงือก ก็จะมีระยะการพักฟื้นที่นานกว่า

อาการหลังผ่าตัดรากฟันเทียม

  • คนไข้อาจมีการปวดบวมภายหลังการผ่าตัดอาจเกิดขึ้นได้ประมาณ 5-7 วัน  ให้รับประทานยาที่ได้รับอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้แผลหายได้เป็นปกติ
  • กรณีที่มีอาการผิดปกติภายหลังการผ่าตัด 1-2 วัน เช่น มีหนอง มีไข้ มีอาการชาบริเวณคาง ริมฝีปาก หรือลิ้น ปวดบวมรุนแรงหรือมีเลือดออกบ่อย ให้กลับมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสอบอาการทันที

การดูแลตนเองหลังจากผ่าตัดรากฟันเทียม

  1. รับประทานเฉพาะอาหารเหลวก่อนในช่วงวันแรก เพื่อหลีกเลี่ยงเศษอาหารปนเปื้อนแผล สามารถรับประทานอาหารกึ่งเหลว หรืออาหารบดในช่วงวันที่ต่อๆมาได้
  2. หลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวอาหารแข็งหรือเหนียวเกินไป ช่วง 1-2 เดือน เพื่อป้องกันแรงกระแทกที่จะเกิดขึ้นกับรากเทียมที่เพิ่งฝังเข้าไป
  3. หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นมากในวันแรกหลังการผ่าตัด
  4. อาการบวมหลังผ่าตัดถือเรื่องเป็นเรื่องปกติ สามารถรับประทานยาที่ได้รับอย่างต่อเนื่องเพื่อลดอาการอักเสบ
  5. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  6. คนไข้สามารถดูเเลรักษาความสะอาดของฟันได้ตามปกติ เหมือนฟันธรรมชาติ แปรงฟันให้ถูกวิธี ใช้ไหมขัดฟันกำจัดเศษอาหารตามซอกฟัน
  7. แนะนำให้ใช้น้ำยาบ้วนปากล้างน้ำยาฆ่าเชื้อ ตามที่แพทย์สั่ง
  8. พบทันตแพทย์ตามนัดทุกครั้ง และทำตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  9. หากมีพฤติกรรมขบเคี้ยวฟัน หรือนอนกัดฟัน ควรพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขภาวะดังกล่าว

ราคารากฟันเทียม

หลายคนสนใจที่จะทำรากฟันเทียมก็มาหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ราคารากฟันเทียม

โดยการทำฟันปลอมบนรากเทียมมีราคาหลากหลาย ขึ้นกับปัญหาช่องปาก และความต้องการของคนไข้

ทางคลินิกสไมล์แอนด์ชายน์ได้ทำทางเลือกหลายแบบเพื่อให้คนไข้สามารถเลือกวางแผนการชำระค่ารักษาที่เหมาะกับตัวเอง

ดูข้อมูลเกี่ยวกับราคารากฟันเทียมของ Smile And Shine Dental Clinic 

การรับประกันรากฟันเทียม

  • รากเทียมทางคลินิกจะรับประกัน 5 ปี
  • Straumann และ Neodent by straumann จะรับประกันส่วนของตัวรากเทียม (fixture) ตลอดอายุการใช้งาน
  • ครอบฟันบนรากฟันเทียมรับประกัน 2 ปี
รายละเอียดการรับประกันรากฟันเทียม

รากฟันเทียมยี่ห้อไหนดี

รากฟันเทียมที่เลือกใช้ในคลินิก

1. Straumann

Straumann เป็นแบรนด์ชั้นนำจากสวิตเซอร์แลนด์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกในด้านรากฟันเทียม ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและความทนทานสูง

จุดเด่นของ Straumann:

  • วัสดุ Roxolid® ที่แข็งแรงกว่าไทเทเนียมทั่วไป ทำให้สามารถใช้ในกรณีที่มีปริมาณกระดูกจำกัด
  • การออกแบบผิวรากฟันเทียม SLActive® ช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการยึดเกาะกับกระดูก
  • รับประกันคุณภาพระดับพรีเมียม เหมาะสำหรับผู้ที่มองหาความมั่นใจในระยะยาว

เหมาะสำหรับ: ผู้ที่ต้องการรากฟันเทียมคุณภาพสูงสุดและมีงบประมาณมาก


2. Hiossen

Hiossen เป็นแบรนด์รากฟันเทียมที่มีต้นกำเนิดจาก Osstem แบรนด์ชั้นนำของเกาหลีใต้ โดย Hiossen ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยการผสานความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและประสบการณ์การผลิตของ Osstem เข้ากับระบบการควบคุมมาตรฐานการผลิตและวัสดุของสหรัฐอเมริกา ทำให้ Hiossen กลายเป็นรากฟันเทียมที่มีคุณภาพสูงและได้รับความไว้วางใจในระดับสากล


3. Neodent by Straumann Group

Neodent เป็นแบรนด์ในเครือ Straumann Group จากประเทศบราซิลที่นำเสนอทางเลือกคุณภาพในราคาที่ย่อมเยากว่า

จุดเด่นของ Neodent:

  • เทคโนโลยีจาก Straumann ทำให้มั่นใจได้ในคุณภาพและความปลอดภัย
  • ราคาไม่สูงมากเมื่อเทียบกับ Straumann แต่ยังคงคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยม
  • รองรับการใช้งานหลากหลายกรณี ทั้งแบบฟันเดี่ยวและฟันทั้งปาก

เหมาะสำหรับ: ผู้ที่ต้องการคุณภาพระดับสากลในราคาที่ประหยัด


4. Neobiotech

Neobiotech เป็นแบรนด์จากเกาหลีใต้ที่ได้รับความนิยมในเอเชียและหลายประเทศทั่วโลก

จุดเด่นของ Neobiotech:

  • การออกแบบที่เหมาะสำหรับกระดูกของคนเอเชีย
  • ราคาย่อมเยาเมื่อเทียบกับแบรนด์อื่น ๆ
  • มีอุปกรณ์เสริมที่หลากหลาย

เหมาะสำหรับ: ผู้ที่ต้องการทางเลือกคุณภาพดีในงบประมาณที่จำกัด

เปรียบเทียบรากฟันเทียม

หลักในการพิจารณาเลือก รากฟันเทียม

1.รากเทียมทำจากบริษัทที่ได้มาตรฐาน บริษัทมีความมั่นคง อีกทั้งตัวแทนจำหน่ายในไทยเองก็ต้องมั่นคงเช่นกัน เพราะถ้าต้องหาชิ้นส่วนอะไหล่ ในอนาคตเราจะต้องหาได้
2.บริษัทที่มีการค้นคว้าและมีผลงานการวิจัยรองรับที่เชื่อถือได้ ทำให้มีการพัฒนารูปแบบให้ดียิ่งๆขึ้น
3.คุณภาพของทุกขั้นตอนต้องดี ใช้วัตถุดิบคุณภาพสูงที่เป็น medical gradeยี่ห้อที่สไมล์แอนด์ชายน์ เลือกใช้คือรากฟันเทียมที่มีมาตรฐาน

  • “แนวคิดของ สไมล์ แอนด์ ชายน์ เราไม่จำเป็นต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดในโลกแต่เลือกสิ่งที่เหมาะกับเรามากที่สุดในโลกต่างหาก

วิธีที่ดีที่สุดคือปรึกษาคุณหมอ เพื่อจะให้ได้คำตอบที่ดีที่สุดว่า รากเทียมไหนดีที่สุดกับกรณีของแต่ละคน”

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับรากฟันเทียม(FAQ)

หลายคนจินตนาการว่าการทำรากฟันเทียมเจ็บ แผลใหญ่ ต้องวางยาสลบไหม จริงๆแล้วการทำรากฟันเทียมไม่ได้เจ็บอย่างที่คิด เพราะความเจ็บปวดขณะทำรากฟันเทียมสามารถควบคุมได้โดยยาชาเฉพาะที่ และความเจ็บปวดหลังจากการทำรากฟันเทียม ควบคุมได้โดยยาแก้ปวดที่คุณหมอสั่งไว้ค่ะ

การผ่าตัดฝังรากฟันเทียมจะทำภายใต้ยาชาเฉพาะที่

คนไข้จะทำรากฟันเทียมภายใต้ยาชาเฉพาะที่ โดยหลังจากที่ทันตแพทย์ฉีดยาชาแล้ว ยาชาออกฤทธิ์เต็มที่ คนไข้จะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดขณะที่ผ่าตัดเลย

ในรายที่มีปริมาณกระดูกเพียงพอ กระดูกมีคุณภาพดี การฝังรากฟันเทียมทำได้ง่าย มีความเจ็บปวดใกล้เคียงกับการถอนฟัน

คนไข้มักจะอยากได้ฟันเร็ว อย่างไรก็ตามจะใส่ฟันได้เลยไหม ขึ้นอยู่กับวิธีการรักษา ตำแหน่งฟัน ความสมบูรณ์ของกระดูกขากรรไกร

ส่วนตัวแล้วถ้าจะใส่ฟันทันที หมอมักจะใส่เป็นครอบฟันชั่วคราวให้คนไข้ไปก่อน โดยการรักษาที่ใส่ฟันทันทีมักจะทำในฟันหน้า และกรณีที่ใส่ฟันทั้งปากแบบ all-on-4


เมื่อคนไข้ฝังรากฟันเทียมพร้อมกับใส่ฟันไปแล้ว รอสามถึงสี่เดือน ให้รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูกได้ดีแล้วค่อยมาทำฟันถาวรจากวัสดุถาวร เช่น ฟันปลอมเสริมโครงโลหะหรือสะพานฟันสำหรับการใส่ฟันทั้งปาก และการใส่ครอบฟันเซอร์โคเนียสำรหับการใส่ฟันซี่เดียว

แต่ถ้ากระดูกไม่สมบูรณ์ ต้องมีการปลูกกระดูกร่วมด้วย อย่างไรก็ต้องรอการปลูกกระดูกอย่างน้อยสี่เดือนค่ะ


การทำรากฟันเทียมให้เสร็จภายใน 1 วัน หรือ one day implant จะทำการถอนฟัน พร้อมฝังรากฟันเทียม และใส่ฟันในวันนั้นได้เลย อย่างไรก็ตามการทำ one day implant จะต้องเลือกเคสอย่างระมัดระวังค่ะ

รากเทียมมีความทนทานเเละใช้งานได้เหมือนกันฟันจริง อายุการใช้งานของรากฟันเทียมนั้นอยู่ได้นานถึง 10 – 20  ปี หรือนานกว่านั้น อยู่ที่การดูเเลรักษาความสะอาดให้ดีอย่างสม่ำเสมอ

รากฟันเทียมทำจากไทเทเนียม ซึ่งมีความแข็งแรงมาก อย่างไรก็ตามถึงจะไม่ผุเหมือนฟันธรรมชาติ แต่ก็อาจเกิดโรคเหงือกได้ ดังนั้น รากฟันเทียมต้องได้รรับการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ โดยปกติแพทย์จะทำการนัดมาเช็คทุกหกเดือน

โดยคุณหมอจะทำการตรวจการสบฟันของรากฟันเทียมกับฟันข้างเคียง และเอกซเรย์ดูกระดูกที่รองรับรากฟันเทียม ตลอดจนทำความสะอาดรากฟันเทียมนั้นๆ การดูแลรักษาอย่างดีและสม่ำเสมอจะทำให้รากฟันเทียมอยู่กับเราไปนานๆค่ะ

โดยปกติทันตแพทย์จะแนะนำให้ทำการจัดฟันให้เสร็จก่อน ค่อยมารักษาด้วยการทำรากฟันเทียม เนื่องจากรากฟันเทียมจะไม่มีการเคลื่อนที่ได้เหมือนฟันธรรมชาติ ทำให้ไม่สามารถจัดฟันในตำแหน่งที่ทำรากฟันเทียมได้ แต่ถ้ารากฟันเทียมไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่มีผลต่อการเคลื่อน หรือต้องการให้เคลื่อนฟัน ก็พอจะจัดฟันได้

ในคนไข้ที่มีกระดูกไม่เพียงพอที่จะสามารถฝังรากเทียม ตามขนาดที่เพียงพอสำหรับรับแรงบดเคี้ยว

การทำรากเทียมจะแบ่งการรักษาเป็น 2 กระบวนการ คือขั้นตอนการผ่าตัดฝังรากเทียม และขั้นตอนการใส่ฟันบนรากเทียม โดย 2 ขั้นตอนนี้จะห่างกันประมาณ 4-6 เดือน


ระยะเวลาในการทำรากฟันเทียม ขึ้นกับหลายปัจจัย

  • ความแข็งแรงของร่างกายสภาพความสมบูรณ์
  • ความหนาแน่นของกระดูกขากรรไกร
  • เทคโนโลยีและชนิดของรากฟันเทียม

โดยเฉลี่ยจะใช้เวลาในการรักษา 2 เดือนในเคสที่กระดูกสมบูรณ์ และอาจจะยืดยาวถึงเป็นปีในกรณีที่ต้องมีการปลูกกระดูกร่วมด้วย

แต่ด้วยวิทยาการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน การผ่าตัดฝังรากเทียมในรายที่กระดูกมีคุณภาพดีสามารถใส่ฟันได้ทันที หรือภายหลังการฝังรากฟันเทียมเพียง 2-3 เดือน โดยการระยะเวลาในการรักษาจะแตกต่างกันไปตามปริมาณ และคุณภาพของกระดูกรองรับรากเทียม

ทพญ.นลัท ว่องวัจนะ

ทันตแพทย์รากฟันเทียม

บทความโดย

ทพญ.นลัท ว่องวัจนะ

ทันตแพทย์ที่ทำงานด้านรากฟันเทียม

  • DDS(Second Class Honor), Chulalongkorn University,Bangkok,Thailand 2009
  • Certificate of completion of Intermediate and advanced basic dental implants practice from OSSTEM THAILAND
  • CERTIFICATE IN IMPLANT EXTERNSHIP PROGRAM, THE STATE UNIVERSITY OF NEWYORK AT STONY BROOK SCHOOL OF DENTAL MEDICINE
  • Honorable mention award, Esthetic implant competition, TPA with ITI Straumann. (Thai Prosthodontics Association and an International team of implantology, Straumann)
  • Accreditation of ADVANCE IN IMPLANTOLOGY –DGOI
    (Deutsche Gesellschaft für Orale Implantologie -German Society of Oral Implantology)
  • Fellowship in International Congress of Oral Implantologists (ICOI)
    PUBLICATIONS
  • Dr.Nalat Wongwatjana,DDS, – Bangkok. “Staged Approach Single Dental Implant in Aesthetic Zone, THAI ASSOCIATION OF DENTAL IMPLANTOLOGY, Vol. 40,2017
ประวัติทันตแพทย์รากฟันเทียม

บทความเกี่ยวกับ รากฟันเทียม

ตัวอย่างการรักษา รากฟันเทียม รีวิว

รีวิว การพิมพ์ปากรากฟันเทียมทั้งปากแบบดิจิตอล(Optisplint)

รากฟันเทียม รีวิว

รีวิว สะพานฟันบนรากฟันเทียม

ตัวอย่างการรักษา รากฟันเทียม รีวิว

รีวิว-ฟันชั่วคราวทั้งปาก “Immediate Full Mouth Temporary Dentures: Instant Solutions Post Tooth Extraction”

OUR EXPERIENCE

IS YOUR

ADVANTAGE

get in touch with us

คลินิกทันตกรรมสไมล์แอนด์ชายน์ก่อตั้งโดย ทพญ.นลัท ว่องวัจนะ ทันตแพทย์รากฟันเทียม ที่ได้รับรางวัลและการรับรองจากสถาบันระดับสากล หลังจากที่ได้ทำงานหลายๆที่ พบว่าข้อจำกัดในการรักษา คือ เครื่องมือ เทคโนโลยี เนื่องจากทันตกรรมรากเทียมและทันตกรรมบูรณะต้องมีการใช้เครื่องมือจำนวนมาก ซึ่งเครื่องมือเหล่านั้นมีราคาสูง ทำให้แผนการรักษาไม่ได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ คุณหมอจึงตัดสินใจเปิดคลินิกของตนเอง โดยมุ่งเน้น”การรักษาที่ดีที่สุด มีเทคโนโลยีทันสมัยที่สุด ใช้วัสดุที่ดีที่สุด” อย่างไรก็ตามสิ่งทสำคัญที่สุดคือ การรักษาทั้งหมดยังคงที่อยู่ภายใต้จรรยาบรรณ และจริยธรรม เพื่อให้คนไข้วางใจได้ว่า แผนการรักษาของเขาจะเหมาะกับตัวเขาในระยะยาว การรักษาที่เลือกจะไม่น้อยไปจนรักษาไม่ครบหรือมากเกินไปโดยไม่จำเป็น

สรุป

การทำรากฟันเทียมไม่เพียงช่วยฟื้นฟูฟันที่สูญเสียไป แต่ยังเสริมสร้างความมั่นใจและประสิทธิภาพในการเคี้ยวอาหารอย่างเต็มที่ การปรึกษาและวางแผนร่วมกับทันตแพทย์ รวมถึงการปฏิบัติตามคำแนะนำหลังการรักษา จะช่วยให้การรักษามีประสิทธิผลและคงอยู่ยาวนาน