รากฟันเทียมทั้งปาก ซี่ๆ

หนึ่งในเคสที่ยากที่สุด (ในหลายๆเคส)

เคสนี้เริ่มพบกันเมื่อสองปีที่แล้ว คนไข้มีปัญหาฟันโยกทั้งปาก และค่อยๆหลุด

โดยปกติแล้ว เคสทั้งปาก จะแพลนการใส่ฟันขึ้นกับกระดูกที่เหลืออยู่ 

  • ถ้าเคสที่มีการสูญเสียส่วนของฟัน จะมีการใส่ฟันแบบ FP1 คือเป็นการใส่เฉพาะซี่ฟัน
  • เคสที่เริ่มมีการสูญเสียส่วนของสันกระดูกบางส่วนจะเป็น FP2 และ FP3 คือ มีการใส่ฟันร่วมกับเหงือกสีชมพู (อย่างที่เราเคยได้ยินคำว่า ALLON4/ALLON6) 
  • ส่วนกรณีที่กระดูกน้อยกว่านั้น จะต้องแพลนเรื่องของการเสริมกระดูก / ใช้ Subperiosteal implant /Zygomatic implant

เคสนี้พอเอกซเรย์เสร็จ ก็แอบสตัํนไป เพราะแทบจะไม่มีอะไรเหลือแล้ว ทำได้แค่ option 3 เท่านั้น 

เมื่อคุยกับคนไข้ ว่าต้องปลูกกระดูก ปลูกเหงือก มีการผ่าตัดหลายครั้ง และไม่สามารถรับรองได้เลยว่าจะจบที่ตรงไหน

อาจจะจบที่ฟันปลอมถอดได้ก็ได้ แถมเป็นฟันปลอมแบบไม่มีทางแน่นแน่นอน เพราะสันเหงือกบางมาก

ให้คนไข้ตัดสินใจว่า จะเลือกทางไหน

.

..

แต่คนไข้ใจสู้มาก 

หลังจากคุยกันเราแพลนว่าจะทำการปลูกกระดูกค่ะ

เคสนี้เริ่มที่การถอนฟันที่ไม่ดี และรักษาโรคเหงือกก่อน

จากนั้น

จึงค่อยๆปลูกกระดูก โดยงัดแทบจะทุกกลยุทธ์มา 

  • ทำ Sinus lift แบบมโหฬาร
  • ปลูกกระดูกด้วย Guided bone regeneration : ใช้ Tenting screw,dPTFE,CGF(ใช้เลือดคนไข้มาผสมกับกระดูกเทียม)
  • ส่วนกระดูกคนไข้เองก็ใช้จากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็น บริเวณตุ่มกระดูกที่เพดาน บริเวณขากรรไกรล่าง

แค่รอปลูกกระดูกสองข้างก็เกือบปี  นี่ยังไม่มีรากฟันเทียมนะคะ

….. 

พอกระดูกที่ปลูกพอได้ – อันนี้กรี้ดเบาๆ แบบดีใจว่าผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปด้วยดี 

ตามด้วยการผ่าตัดใส่รากฟันเทียม

แถม

ปลูกระดูกอีกรอบ 

รออีก 4-6 เดือน

…..

ปลูกเหงือกต่อค่ะ เพราะเนื่องจากเคสนี้มีการผ่าตัดหลายครั้ง การผ่าตัดเพื่อปลูกกระดูก

หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้กระดูกที่ปลูกขึ้นได้มี 4 อย่างตาม “PASS” principles ของ Prof.Hom Lay Wag คือ Primary closue หรือ แผลห้ามแตก!!! 

ยิ่งปลูกใหญ่ขนาดนี้ ก็ต้องปิดให้ได้ แถมให้สนิท ทีนี้เนื้อรอบๆก็ถูกดึงมาปิด ทำให้เหงือกที่ดีบางลง

จิงต้องทำการปลูกเหงือกต่อ

……

พอรากพร้อมทีนี้ที่โหดต่อคือ การพิมพ์ให้ใส่ให้ลง เพราะเคสลักษณะนี้ต้องทำการบันทึกอย่างละเอียดมากมาก 

การพิมพ์ต้องยึดตำแหน่งรากฟันเทียมเหมือนเวลาเราพิมพ์เคสทั้งปาก

ต้องทำการยึดตำแหน่งวัสดุพิมพ์เข้าด้วยกันและทำการกัดตำแหน่งการสบฟันให้ได้

สรุปคืองานมีความสำคัญทุกขั้นตอนไม่น้อยไปกว่ากันเลยค่ะ

สุดท้ายก็ได้ใส่ฟันเป็นที่เรียบร้อยค่ะ สิริรวมสองปีกว่า เกือบสามปี เจอหน้ากันจนเบื่อกันไปข้างเลย

……

คนไข้เก่งและอดทน ยากแค่ไหนก็สู้ไปด้วยกันค่ะ