รากฟันเทียม – DENTAL IMPLANT

การใส่ฟันที่ใกล้เคียงฟันธรรมชาติที่สุด

10 ปี ++

ประสบการณ์

1,500 ราก ++

ประสบการณ์ในการผ่าตัดรากฟันเทียม

100 ++

ประสบการณ์เคสทั้งปาก

3,000++

คนไข้ที่ดูแล

แบรนด์รากฟันเทียม

straumann implant logo
neodent implant logo
neobiotech logo
รากฟันเทียม เดนเทียม
อ่านต่อ...ยี่ห้อรากฟันเทียมที่คุณหมอเลือกใช้

ชนิดของการใส่ฟัน

See all

ใส่ฟัน1ซี่

ใส่ฟันหลายซี่

IMPLANT BRIDGE

สะพานฟันบนรากฟันเทียม

ใส่ฟันทั้งปาก

ALLONX

การใส่ฟันทั้งปาก

ทำไมต้องทำรากฟันเทียมที่สไมล์แอนด์ชายน์

“Why do I need to have dental implants at Smile and Shine?”

ทพญ.นลัท ว่องวัจนะ

DR.NALAT WONGWATJANA,DDS,FICOI

ทันตแพทย์รากฟันเทียม

  • The second class Honors D.D.S., Faculty of Dentistry Chulalongkorn University, Thailand, 2009
  • Certificate of completion basic implantology ,Osstem,2015
  • Certificate of completion intermediate implantology ,Osstem,2015
  • Certificate of completion advance implantology ,Osstem,2015
  • Certificate in Implant externship program,State university of New York  at Stony Brook School of Dental Medicine.,2016
  • Cert. of Completion, Invisalign, Align Technology, Inc.
  • Certificate of clinical proficiency in orthodontics ,Prime orthodontic
    Award and accreditation
  • Honorable mention award,Esthetic implant competition,TPA with ITI Straumann.(Thai Prosthodontics Association and International team of implantology,straumann),2015
  • Accreditation of ADVANCE IN IMPLANTOLOGY -DGOI  (Deutsche Gesellschaft für Orale Implantologie -German Society ofOral Implantology),2017
  • Fellow of the International congress of oral implantologists (ICOI) / USA 2019

PUBLICATIONS
Dr.Nalat Wongwatjana,D.D.S, –  Bangkok. “Staged Approach Single Dental Implant in Aesthetic Zone,
THAI ASSOCIATION OF DENTAL IMPLANTOLOGY,Vol.40,2017

 

2016

SINCE

10ปี

ประสบการณ์

+1,500 ราก

ประสบการณ์ในการผ่าตัดรากฟันเทียม

3,000 คน

ดูแลคนไข้มากกว่า

ขั้นตอนการรักษารากฟันเทียม

รายละเอียด ข้อมูล สิ่งที่ควรรู้เพื่อเตรียมตัวการรักษา 

หน้าวิธีการทำรากฟันเทียม

รีวิวจากคนไข้จริง

ความรู้สึกหลังทำรากฟันเทียมที่คลินิกสไมล์แอนด์ชายน์

อ่านต่อใน Google

ได้มาปรึกษากับหมอแอ้นด้านรากฟัน ประทับใจคลินิคและตัวคุณหมอมากๆๆเลยค่ะ หมอแอ้นใจดี พยาบาลน่ารัก โทรเข้ามานัดก่อน ดูแลดีมากๆเลย❤🤍 พี่ชายแนะนำที่นี่ คลินิคสะอาด ประทับใจตั้งแต่มาครั้งแรกเลย …

เลือกมาทำรากฟันเทียมที่นี่เพราะแสดงราคาชัดเจนและราคาไม่แพง รากฟันที่เลือกเป็นรุ่นNeodent aqua ราคา5หมื่นบาทรวมครอบฟัน คุณหมอนลัทมือเบามากไม่เจ็บเลยครับ จริงๆบ้านผมอยู่แถวเอสพลานาดรัชดาแต่ตัดสินใจไม่ผิดเลยครับที่เลือกขับรถมาถึงพระราม3เพื่อทำที่คลีนิคนี้

มีอาการปวดฟันรุนแรง​ โทรปรึกษา​คุณหมอนลัท​ คุณหมอดูแลเบื้องต้นอย่างดี​มาก​ แล้วได้รับการดูแลจากคุณหมอเอ๋ วันนั้นเคสเร่งด่วนมาก​ คุณหมอเอ๋ได้ทำการรักษารากฟันกลับบ้านมีอาการปวด​จากการรักษา​ซึ่งเป็นเรื่องปกติ​ แต่หลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมง​ หายปวด​สนิท​ สุดยอดคลินิก​ทำฟันที่ดูแลคนไข้เหมือนคนในครอบครัว❤️❤️

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับรากฟันเทียม
FAQ

ทำจากไทเทเนียมหรือเซอร์โคเนียม(สีขาว) ซึ่งมีความเข้ากันได้ดีกับร่างกาย เซลล์ของกระดูกจะมายึดกับไทเทเนียม ทำให้เกิดกระบวนการยึดติด หรือที่เรียกว่า “Osseointegration”

พื้นผิวของรากเทียมจะมีการพัฒนาเพื่อส่งเสริมกระบวนการยึดติด(Osseointegration)ให้ดีขึ้น เร็วขึ้น โดยจะมีการเตรียมพื้นผิวด้วยกระบวนการต่างๆ เช่น SLA-Sandblast Large grid -Acidetchโดยจะนำไทเทเนียมมาพ่นทรายและแช่ในกรด ,Anodize-การใช้กระแสไฟฟ้า เพื่อต้องการให้ไทเทเนียมนี้มีรูพรุนและความขรุขระที่พื้นผิวของไทเทเนียม เพื่อส่งเสริมการยึดติดนั่นเอง

โดยเซลล์ของกระดูกที่วิ่งมาพร้อมกับเลือด จะแทรกซึมไปในผิวรากเทียมและสร้างกระดูกยึดจนเป็นเนื้อเดียวกันกับกระดูกขากรรไกรที่เหลือ

รากฟันเทียม(Fixture) มีลักษณะคล้ายสกรูหรือน๊อต เป็นส่วนที่ฝังไปในกระดูกขากรรไกร ทำจากไทเทียมหรือเซอร์โคเนียม เมื่อมีการยึดติดสมบูรณ์แล้วจะมีความแข็งแรงมาก ทำหน้าที่เป็นหลักยึดให้กับส่วนอื่น

Abutment คือ แกน/เดือย ที่ทำจากไทเทเนียม หรือ เซอร์โคเนียม จะยึดติดกับ fixture ด้วยสกรู มีหน้าที่ในการยึดติดระหว่างครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอม กับรากฟันเทียม

Prosthesis คือ ส่วนของครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอมที่ยึดกับ Abutment ทำจากเซรามิค(Porcelain) หรือ Acrylic ทำหน้าที่เป็นที่รับแรงบดเคี้ยว

ทำการรักษาภายใต้ใส่ยาชาเฉพาะที่บริเวณที่จะฝังรากเทียม

ทันตแพทย์จะเปิดเหงือกและกรอกระดูกบริเวณขากรรไกรในตำแหน่งที่ต้องการทดแทนฟันที่สูญเสียไปเพื่อเป็นช่องสำหรับฝังรากเทียมซึ่งทำจากวัสดุไทเทเนียมรูปร่างทรงกระบอก หลังจากนั้นเหงือกตำแหน่งน้ันจะถูกเย็บปิดและรอการเช่ือมของกระดูก กับรากฟันเทียมเป็น ระยะเวลา 2-8 เดือน เมื่อรากเทียมนั้นถูกประเมินว่ามีการประสานกับกระดูกโดยรอบอย่างสมบูรณ์แล้ว เดือยจะถูกต่อขึ้นบนเหงือก เพ่ือรองรับครอบฟันหรือสะพานฟัน หรือฟันเทียมแบบถอดได้ตามแผนการรักษา

1.ทันตแพทย์ให้คำปรึกษาและตรวจฟันคนไข้
ทำการ X-ray Digital 3D CBCT (CT SCAN)
– ทันตแพทย์ประเมินความหนาแน่นกระดูก ตำแหน่งเส้นประสาท ออกแบบกำหนดตำแหน่ง และเลือกขนาดของรากฟันเทียมจาก X-ray Digital 3D CBCT

2.นัดมาผ่าตัดฝังรากฟันเทียม ทันตแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ แล้วทำการผ่าตัดเพื่อฝังไทเทเนียมลงไปในกระดูกขากรรไกร และเย็บปิดแผล

3. 2สัปดาห์หลังจากผ่าตัด คนไข้เข้ามาตัดไหมล้างแผล

4.หลังจากนั้นประมาณ 3 เดือนนัดมาทำตรวจเช็ค ทำการ X-ray Digital 3D CBCTและpanoramic เพื่อเช็คการยึดของรากฟันเทียมกับเนื้อเยื่อ เช็คตำแหน่ง และเช็คความหนาแน่นของกระดูก

5.เมื่อรากฟันเทียมยึดกับเนื้อเยื่อและกระดูกของเราเรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์จะพิมพ์ฟันและทำตัวครอบฟันบนรากฟันเทียม

6.1-2 สัปดาห์ คนไข้กลับมาทำใส่ครอบฟัน

7.คนไข้ต้องกลับมาตรวจสุขภาพฟันและx-Ray ทุก6เดือน

 

  • Conventional implant placement เป็นวิธีการฝังรากฟันเทียมแบบมาตราฐาน
    โดยหลังจากถอนฟันอย่างน้อยสามเดือน แพทย์จะทำการตรวจในช่องปาก พร้อมกับเอกซเรย์สามมิติ(CBCT)เพื่อทำการประเมินกระดูกขากรรไกร จากนั้นทำการผ่าตัดเพื่อฝังรากเทียม โดยหลังจากฝังรากฟันเทียมแล้วต้องรอประมาณ 3-6 เดือน เพื่อให้เกิดการยึดติดของรากฟันเทียมและกระดูกอย่างสมบูรณ์ จากนั้นจะทำการพิมพ์ปากเพื่อทำครอบฟัน-ฟันเทียม ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาขึ้นกับชนิดของการใส่ฟัน เช่น ถ้าทำครอบฟัน จะใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ ถ้าทำฟันปลอมยึดรากเทียม อาจจะมีขั้นตอนเพิ่มเติม
  • Immediate implant placement
    เป็นการใส่รากฟันเทียมทันที หลังจากถอนฟันเดิมออก โดยข้อดีของวิธีนี้คือ ลดจำนวนครั้งในการผ่าตัด และลดเวลา ทำให้ได้ฟันที่เร็วขึ้น
    การทำimmediate placement สามารถทำได้ทุกบริเวณ แต่ขึ้นกับสภาวะของบริเวณที่รักษา และต้องไม่มีการติดเชื้อที่รุนแรง โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาในขั้นตอนการวางแผนว่าสามารถทำได้หรือไม่
  • Immediate loaded implant
    คือการใส่ฟันทันทีหลังจากที่ใส่รากฟันเทียม ทำให้คนไข้ได้ฟันทันที เช่น การทำ All-on-4 คือการใส่รากเทียมสี่รากพร้อมกับต่อฟันทันที หรือ การใส่รากฟันเทียมฟันหน้าพร้อมทำครอบฟันชั่วคราวทันที
    อย่างไรก็ตามวิธีนี้จะมีข้อจำกัด ต้องให้แพทย์ตรวจ ประเมินและวางแผนอย่างใกล้ชิด

ทันตแพทย์สามารถใช้รากฟันเทียมช่วยในการใส่ฟันทดแทนให้คนไข้ได้หลายวิธี

  • การทดแทนฟัน 1ซี่ สามารถใส่ได้คือการใส่ฟันถอดได้ เป็นฟันปลอมถามอะคริลิค ฟันปลอมฐานโลหะ ,Removable bridge,Valplast
    ถ้าพิจารณาการใส่ฟันติดแน่น ทำได้สองวิธีคือ รากฟันเทียม และสะพานฟัน โดยรากฟันเทียมมีข้อดีกว่าสะพานฟันคือ รากฟันเทียมจะใส่รากไทเทเนียมบริเวณที่ถอนไปเพื่อทดแทน โดยไม่มีกรอฟันข้างเคียง แต่สะพานฟันจะต้องกรอฟันข้างเคียงและส่วนของครอบฟันจะติดแน่นเชื่อมกันระหว่างซี่ทำให้ ยากที่จะทำความสะอาด และถ้ามีปัญหาอาจจะต้องรื้อแก้ทั้งหมด รวมถึงถ้ามีปัญหาอาจทำให้สูญเสียฟันข้างเคียงเพิ่มขี้นด้วย

 

 

  • การทดแทนฟันหลายซี่
    ด้วยรากฟันเทียมสามารถทำได้หลายแบบคือ
    1.การใช้รากฟันเทียมเพื่อช่วยยึดฟันปลอม โดยเดิมฟันปลอมที่จะต้องมีตะขอยึดติดกับฟันธรรมชาติ อาจทำให้ฟันธรรมชาติรับแรงงัดและแตกหักได้. การใช้รากฟันเทียมร่วมกับหลักยึดคือlocator ทำให้ไม่ต้องใช้ตะขอ ฟันปลอมจึงติดแน่น แข็งแรง โดยไม่ต้องไปเกี่ยวกับฟันธรรมชาติ
    2.การใช้รากฟันเทียมรองรับสะพานฟัน ในกรณีที่สูญเสียฟันหลายๆซี่ติดกัน ทันตแพทย์จะทำรากฟันเทียม เพื่อเป็นหลัก หัวท้าย และ ยึดสะพานฟัน มีข้อดีคือ ลดจำนวนรากฟันเทียมที่ต้องใช้ลง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่ไม่สามารถฝังรากเทียมได้
    3.การใช้รากฟันเทียมหนึ่งรากแทนฟันหนึ่งซี่ ในกรณีที่กระดูกเพียงพอ และคนไข้มีแรงบดเคี้ยวที่มาก จะทำรากเทียมพร้อมครอบฟันซี่ต่อซี่ ข้อดีคือ มีรากที่รับแรงบดเคี้ยวต่อซี่โดยตรง มีความแข็งแรง
    และง่ายต่อการบำรุงรักษา ถ้าในอนาคตมีปัญหาสามารถแก้เป็นซี่ๆไปได้
  • การทดแทนฟันทั้งปาก
    ในการใช้รากเทียมเพื่อบูรณะทั้งขากรรไกร ทำได้ดังนี้
    1.Overdenture การใช้รากเทียมสองรากในขากรรไกรล่าง และสี่รากสำหรับขากรรไกรบน ในการช่วยยึดฟันปลอม โดยจะช่วยให้ฟันปลอมอยู่แน่น เคี้ยวได้ดี และ ฐานฟันปลอมเล็กลง ไม่ต้องคลุมเพดานหรือเหงือกมาก
    2.All-on-4 การใช้รากฟันเทียมสี่รากยึดติดแน่นกับฟันปลอม(Hybrid acrylic denture) โดยจะทำทันทีหลังจากผ่าตัดรากฟันเทียม แพทย์จะยึดฟันปลอมที่เตรียมไว้กับรากเทียม ทำให้คนไข้ได้ฟันติดแน่นทันทีหลังจากผ่าตัดรากเทียม
    3.Fixed bridge over implants เป็นการผ่าตัดเพื่อฝังรากฟันเทียม สี่รากเพื่อยึดสะพานฟันสิบซี่ ,หกถึงแปดรากเพื่อยึดสะพานฟันสิบสองซี่ โดยฟันที่ได้จะใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ

Digital 3D CBCT (X-ray 3D) โดยหลักๆปัจจุบันนี้ใช้งานหลักๆคือ 3D digital CBCT ในการวางแผนการรักษา โดยสามารถวัดความกว้าง ความยาว ความสูงของกระดูก และระยะต่ออวัยวะสำคัญโดยรอบได้ ทำให้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย

ความพิเศษของ CT-Guided Surgery

การทำ computer guided implant คือการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบจะช่วยลดเวลาในการรักษา และทำให้ตำแหน่งในการฝังรากเทียมมีความแม่นยำสูง โดยแพทย์จะประเมินความหนาแน่นกระดูก ตำแหน่งเส้นประสาทและออกแบบวางแผนจากการเอกซเรย์ 3D CBCT ทำให้สามารถเลือกขนาดรากฟันเทียม และกำหนดตำแหน่งได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับตำแหน่งฟันที่จะได้ใส่อย่างมีประสิทธิภาพ

ทุกคนที่สูญเสียฟันแท้ไปสามารถใส่รากฟันเทียมได้ อย่างไรก็ตามจะมีข้อกำจัดที่ต้องเตรียมตัวก่อนการรักษาดังนี้ คือ ถ้าคนไข้มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หัวใจ ความดัน หอบหืด หรือมีอาการแพ้ เช่น แพ้ยา แพ้โลหะ เป็นต้น ต้องแจ้งแพทย์ก่อน เพื่อแพทย์จะได้ทำการจัดการสภาวะต่างๆให้เหมาะสมแก่การรักษารากฟันเทียม เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงที่สุด

รากฟันเทียมทำจากไทเทเนียม ซึ่งมีความแข็งแรงมาก อย่างไรก็ตามถึงจะไม่ผุเหมือนฟันธรรมชาติ แต่ก็อาจเกิดโรคเหงือกได้ ดังนั้น รากฟันเทียมต้องได้รรับการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ โดยปกติแพทย์จะทำการนัดมาเช็คทุกหกเดือน โดยคุณหมอจะทำการตรวจการสบฟันของรากฟันเทียมกับฟันข้างเคียง และเอกซเรย์ดูกระดูกที่รองรับรากฟันเทียม ตลอดจนทำความสะอาดรากฟันเทียมนั้นๆ การดูแลรักษาอย่างดีและสม่ำเสมอจะทำให้รากฟันเทียมอยู่กับเราไปนานๆค่ะ

โดยปกติผู้ที่เหมาะสมกับการใส่รากฟันเทียมคือ

  • ผู้ที่ฟันแตกหัก หรือฟันบิ่น โดยทันตแพทย์วินิจฉัยมาแล้วว่าควรถอนฟันออก ซึ่งเหมาะแก่การผ่ารากฟันเทียมแบบทันทีเพื่อไปทดแทนฟันที่ถูกถอนไป
  • ผู้ที่ไม่ต้องการใส่ฟันปลอมถอดได้หรือมีความกังวลเกี่ยวกับการสวมใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้
  • บุคคลที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เนื่องจากเด็กจะมีกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่
  • ผู้ที่มีกระดูกรองรับฟันพอดี โดยขนาด และความหนาของกระดูกจำเป็นที่จะต้องรองรับฟันพอดีเพื่อที่รากเทียมที่เราปลูกไปยืดตัวได้อย่างมั่นคง ไม่หลุดได้ง่าย
  • ผู้ที่ตั้งครรภ์ ควรคลอดบุตรก่อน
  • ผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวาน เนื่องจากผู้ที่เป็นเบาหวาน จะมีน้ำตาลในเลือดที่ค่อนข้างสูง ซึ่งจะส่งผลให้บาดแผลหายช้าหากไม่ได้รับการดูแลที่ดี ก็จะเสี่ยงต่อการอักเสบและติดเชื้อ ซึ่งถือว่าไม่ปลอดภัยในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่รุนแรงไม่สามารถควบคุมได้
  • ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งที่ต้องเข้ารับการฉายแสงบริเวณใบหน้าและขากรรไกร เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งที่ต้องเข้ารับการฉายแสง ไม่เหมาะที่จะทำการหัตการใดๆ เพราะอาจจะส่งผลต่ออาการป่วยได้
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุน เนื่องจากกระดูกไม่แข็งแรง มีความเปราะง่าย และการฝังรางฟันเทียมนั้น จะต้องฝังไปบนกระดูกขากรรไกร ซึ่งอาจจะทำให้กระดูกเกิดอาการเปราะ และทำให้รากฟันเทียมหลุดได้ง่าย หากเข้ารับการรักษาผ่าตัดฝังรากฟันเทียม มีอัตราสูงที่จะทำให้การรักษาเกิดความล้มเหลวนั้นเอง
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบรุนแรง ผู้ป่วยที่เป็นลูคิเมีย ผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์ควรได้รับการรักษาเพิ่มเติมก่อนทำการฝังรากเทียม
  • ผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดต้องได้รับคำเห็นชอบจากแพทย์เจ้าของไข้ก่อนรับการรักษา
  • ผู้ป่วยจิตเภท ผู้ป่วยที่มีอาการไขข้ออักเสบรุนแรง หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ไม่สามารถดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเองได้ ไม่ควรเข้ารับการทำรากฟันเทียม

ข้อดี

  • คนไข้มีความมั่นใจ บุคลิคภาพดูดียิ่งขึ้น
  • สามารถใส่ฟันได้โดยไม่ต้องกรอแต่งซี่ข้างเคียง
  • ดูแลทำความสะอาดง่ายขึ้น ทำให้สุขภาพอนามัยช่องปากคนไข้ดีขึ้น
  • สามารถพูดและออกเสียงได้ชัดเจน
  • สามารถรับประทานอาหารที่อยากทานได้ เหมือนได้ฟันธรรมชาติกลับคืนมา
  • ลดปัญหาการหลุด หลวม และความวิตกกังวลเกี่ยวกับฟันปลอม

ข้อเสีย

  • ราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับการใส่ฟันแบบอื่นๆ
  • คนไข้ที่มีภาวะเจริญเติบโต ต้องรอให้ผ่านช่วงนั้นไปก่อน
  • เนื่องจากเป็นการผ่าตัดคนไข้ที่มีโรคประจำตัวอาจจะมีข้อจำกัด
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือ ติดสุราเรื้องรังจะมีผลต่อกระดูกบริเวณรอบรากเทียม อาจะทำให้การรักษาล้มเหลวได้
  • ดูแลและทำความสะอาดเป็นประจำทุกวัน โดยการใช้แปรงสีฟัน ไหมขัดฟัน แปรงซอกฟัน
  • หมั่นพบทันตแพทย์เป็นประจำทุกหกเดือน
  • เลือกทันตแพทย์ที่เชี่ยวชาญและเลือกรากเทียมที่มีคุณภาพ เพื่อผลของการรักษาที่ยั่งยืน
  • ทำตามคำแนะนำขอแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • หลีกเลี่ยงของแข็ง
  • สิ่งที่ต้องพิจารณาหลักๆคือ1.รากเทียมทำจากบริษัทที่ได้มาตรฐาน บริษัทมีความมั่นคง อีกทั้งตัวแทนจำหน่ายในไทยเองก็ต้องมั่นคงเช่นกัน เพราะถ้าต้องหาชิ้นส่วนอะไหล่ ในอนาคตเราจะต้องหาได้2.บริษัทที่มีการค้นคว้าและมีผลงานการวิจัยรองรับที่เชื่อถือได้ ทำให้มีการพัฒนารูปแบบให้ดียิ่งๆขึ้น3.คุณภาพของทุกขั้นตอนต้องดี ใช้วัตถุดิบคุณภาพสูงที่เป็น medical gradeยี่ห้อที่สไมล์แอนด์ชายน์ เลือกใช้คือรากฟันเทียมที่มีมาตรฐาน
  • “แนวคิดของ สไมล์ แอนด์ ชายน์ เราไม่จำเป็นต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดในโลกแต่เลือกสิ่งที่เหมาะกับเรามากที่สุดในโลกต่างหาก
  • และวิธีที่ดีที่สุดคือปรึกษาคุณหมอ เพื่อจะให้ได้คำตอบที่ดีที่สุดว่า รากเทียมไหนดีที่สุดกับกรณีของแต่ละคน”
  • NobelBiocare(Sweden)
    • NobelReplace
    • NobelActive เหมาะสำหรับเคสที่กระดูกไม่แน่น รากจะออกแบบให้มีความคม สามารถยึดติดกับกระดูกได้ดี เหมาะสำหรับทำimmediate,All-on-4
  • Straumann(Switzerland) Straumann มีสี่รุ่นหลักคือ
    • Straumann TitaniumSLA
    • Straumann Roxolid-มีการเสริม Zirconia(เซอร์โคเนีย) ทำให้เป็น TiZr หรือไทเทเนียมอัลลอยด์ ทำให้รากเทียมมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ
    • Straumann TiSLActive – เป็นรากเทียมรุ่น TitaniumSLAที่เคลือบ ACTIVE agent ทำให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกดีขึ้น เร็วขึ้น เหมาะสำหรับคนไข้ที่มีโรคประจำตัวเช่น เบาหวาน มะเร็ง หัวใจ
    • Straumann Roxolid Active – เป็นรากเทียมรุ่นท๊อป คือเป็นรุ่น Roxolid ที่มีความแข็งแรงมากและเคลือบ Active agent ทำให้ยึดติดได้เร็ว
  • Cortex(Israel)แบรนด์นี้จะเน้นรากเทียมที่เป็นกลุ่มที่เน้นความคมของราก เพื่อให้ใส่รากเทียมในบริเวณที่มีกระดูกจำกัดได้ และการทำการต่อครอบฟันหลังใส่รากเทียมทันที เพราะเกลียวจะเป็น Active Thread ที่จะเบียดกระดูกทำให้ รากเทียมแน่นทันทีที่ปัก
  • Neodent(Brazil) เป็นแบรนด์รองของ Straumann โดย Straumann ไปซื้อแบรนด์นี้มาพัฒนาต่อ มีการใช้เทคโนโลยีของStraumann แต่สาเหตุที่ถูกกว่าเพราะฐานการผลิตอยู่ที่บราซิล
  • Neobiotech/dentium/osstem รากเทียมเกาหลี คุณภาพดี ในปัจจุบันมีการใช้มากขึ้น มีการพัฒนาคุณภาพและวัสดุจนไม่น้อยหน้าที่ไหนเลย
  • Zirconia implant(Metalfree)-ICX(Germany)
    สำหรับคนไข้ที่แพ้โลหะ หรือฟันหน้าที่ต้องการความสวยงามสูง กรณีคนไข้เหงือกบาง เนื่องจากรากเทียมมีสีขาว ทำให้ลดโอกาสที่จะเห็นขอบดำของรากเทียม

Video