การรักษาคลองรากฟัน

การรักษาคลองรากฟัน (Root Canal Treatment) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “การรักษารากฟัน” เป็นหนึ่งในกระบวนการทางทันตกรรมที่ได้รับความนิยมมากในการรักษาฟันที่ติดเชื้อหรือเกิดปัญหาภายในโพรงประสาทฟัน การรักษาคลองรากฟันนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ฟันที่มีปัญหายังคงอยู่ในช่องปากและสามารถใช้งานได้ยาวนาน

ทำไมต้องรักษาคลองรากฟัน?

การติดเชื้อที่เกิดขึ้นในโพรงประสาทฟันหรือเนื้อเยื่อภายในฟัน มักเกิดจากฟันผุที่ลึก การบาดเจ็บ หรือการสะสมของคราบจุลินทรีย์ที่ไม่ได้รับการทำความสะอาด เมื่อเกิดการติดเชื้อภายในโพรงประสาทฟันแล้ว อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดและเกิดการอักเสบได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง การติดเชื้ออาจลุกลามไปสู่เนื้อเยื่อรอบๆ รากฟันและอาจต้องถอนฟันออกในที่สุด

อาการที่บ่งชี้ว่าต้องรักษาคลองรากฟัน 

  • Injury or trauma to the tooth เช่น กระแทก แตก หัก ที่มีความรุนแรงถึงประสาทฟัน 
  • อาการปวดที่เกิดขึ้นมาเอง (อยู่เฉยๆก็ปวด
  • ปวดตลอดเวลา(อาการปวดเมื่อเกิดแล้วคงอยู่เป็นนาที
  • ปวดจี๊ดหรือปวดตุ๊บๆ 
  • ปวดเมื่อโดนความร้อนหรือความเย็น 
  • กัดแล้วปวดมากขึ้น 
  • เหงือกบวมหรือมีตุ่มหนอง 
  • ฟันตาย ฟันจะมีลักษณะสีเข้มขึ้น 

ขั้นตอนการรักษาคลองรากฟัน

1.การวินิจฉัย– ทันตแพทย์จะทำการตรวจสอบฟันและทำการถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์เพื่อดูความรุนแรงของการติดเชื้อ
2.การระงับความเจ็บปวด– ก่อนเริ่มการรักษา ทันตแพทย์จะให้ยาชาเพื่อลดความเจ็บปวดในระหว่างการรักษา
3.การทำความสะอาดโพรงประสาทฟัน– ทันตแพทย์จะทำการเปิดฟันเพื่อเข้าถึงโพรงประสาทฟันและคลองรากฟัน จากนั้นจะนำเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อและแบคทีเรียออก
4.การอุดคลองรากฟัน– หลังจากทำความสะอาดคลองรากฟันแล้ว จะทำการอุดคลองรากฟันด้วยวัสดุที่เรียกว่า “กัตตาเพอร์ชา” เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้ออีก
5.การครอบฟัน– หลังจากการรักษาเสร็จสมบูรณ์ ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยใส่ครอบฟันเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับฟันและป้องกันการแตกหักในอนาคต

ข้อดีของการรักษาคลองรากฟัน

-ช่วยรักษาฟันธรรมชาติ– การรักษาคลองรากฟันช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเก็บรักษาฟันธรรมชาติไว้ในช่องปากได้ แทนที่จะต้องถอนฟัน
-เพิ่มคุณภาพชีวิต– ฟันที่ได้รับการรักษาแล้วสามารถใช้งานได้ตามปกติ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเคี้ยวอาหารได้อย่างเต็มที่

การดูแลหลังการรักษาคลองรากฟัน

หลังจากการรักษาคลองรากฟันเสร็จสิ้น ผู้ป่วยควรดูแลฟันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ฟันที่ได้รับการรักษาอยู่ในสภาพดี คำแนะนำบางประการได้แก่:

-ควรงดเคี้ยวอาหารด้วยฟันซี่ที่รักษารากฟัน เพราะอาจทำให้ฟันแตกได้
-ไม่ควรรับประทานอาหารในทันที่ หรือรอจนกว่ายาชาที่ใช้จะหมดฤทธิ์ ป้องกันการกัดลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม
-ควรมาตามนัดแพทย์ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงถอนฟันซี่นั้นออก

สรุป

การรักษาคลองรากฟันเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการรักษาฟันที่ติดเชื้อ ช่วยป้องกันไม่ให้ต้องถอนฟันและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้งานฟันได้ตามปกติ การดูแลรักษาฟันหลังจากการรักษาคลองรากฟันเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ฟันอยู่ในสภาพดีในระยะยาว

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการรักษาคลองรากฟัน

อาการที่บ่งบอกได้ว่ารากฟันขกำลังมีปัญหา คือ เกิดหนองปลายรากฟัน ที่อาจมีหนองไหลออกมา หรือ จากการ x-ray ซึ่งอาการทั้งหมดนี้ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการอุดฟัน ต้องรักษารากฟันก่อน

การพบหนองที่ปลายรากฟันเกิดจากการเกิดฟัน ผุเป็นระยะเวลานาน โดยที่ไม่ได้รับการรักษา จนมีการอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณปลายรากฟัน

เมื่อมีการอักเสบในโพรงประสาทฟัน ไม่ว่าจะเกิดจากฟันผุ ฟันแตก หรือฟันร้าว จะทำให้เกิดการติดเชื้อและอักเสบของโพรงประสาทฟัน(เนื้อเยื่อที่อยู่ภายในฟันซึ่งประกอบด้วย เส้นเลือด เส้นประสาท และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน) การอักเสบนี้ทำให้มีอาการปวด บวม ที่ฟันและอวัยวะรอบๆ

 ได้แก่บรรเทาอาการปวด และ/หรือ เพื่อให้สามารถรับการรักษาอื่น ๆได้ต่อไปตามที่ทันตแพทย์ ได้วางแผนการรักษาไว้ การรักษารากฟันยังช่วยให้คงรากฟันให้อยู่ในช่องปากเพื่อให้ฟันสามารถรับการบูรณะเพื่อใช้งานได้ อย่างเหมาะสมต่อไป

อาการหลังรักษารากฟันโดยปกติ จะรู้สึกเจ็บเล็กน้อย ในช่วง 2-3 วันแรก และอาจมีอาการเหงือกบวม  อาการเจ็บจะค่อยๆ ทุเลาและจางหายไปเอง สามารถบรรเทาได้ด้วยยาระงับปวด

รากฟันอักเสบ อาจไม่เกิดอาการเจ็บปวด แต่การดำเนินของโรคก็ยังคงอยู่ อาจจะทราบจากการเอ็กซเรย์ฟันหรือมีหนองที่เหงือก เมื่อพบว่าต้องรักษารากฟันควรทำการรักษาทันทีเพื่อลดการสูญเสียฟัน

ฟันแท้ถือเป็นฟันที่ใช้งานได้อย่างเป็นธรรมชาติมากที่สุด ไม่มีฟันเทียมชนิดไหนดีไปกว่าฟันแท้ เมื่อเกิดปัญหาสุขภาพฟันและถ้าฟันซี่นั้นยังคงรักษาไว้ได้ ควรรักษาไว้เพราะการถอนฟันยังมีปัญหาของช่องว่างระหว่างฟันที่อาจทำให้ฟันล้ม หรือปัญหาของโรคเหงือก หรือปัญหาอื่นๆตามมา ซึ่งอาจจะรักษาได้โดนการใส่ฟันปลอมถอดได้หรือรากฟันเทียม

การรักษารากฟันอาจไม่ได้ทำการรักษาเสร็จในครั้งเดียว ทันตแพทย์มักทำครอบฟันชั่วคราวหรือครอบฟัน เพื่อป้องกันการแตกหักของตัวฟัน

เนื่องจากการรักษารากฟันจะทำให้ฟันกลวงและทำให้ส่วนเนื้อฟันที่เหลือเปราะบาง มีโอกาสแตกร้าวได้ ดังนั้นฟันซี่ที่ได้รับการรักษาต้องมีการสวมครอบฟันไว้เพื่อป้องกันการแตกร้าวที่อาจจะเกิดขึ้นได้

โดยปกติทุกคนควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพฟัน ตรวจสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันจากฟันผุและโรคเหงือก

ดังนั้นเมื่อรักษารากฟันหายแล้วต้องกลับพบทันตแพทย์เพื่อลดความเสี่ยงที่จะต้องกลับไปรักษารากฟันอีกครั้ง จึงควรพบทันตแพทย์สม่ำเสมอ

หรือหากพบความผิดปกติควรรักษาทันที ลด ละอาหารที่ก่อให้ เกิดฟันผุ เช่น ของหวาน น้ำอัดลม และเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำร้ายฟัน เช่น กัดของแข็ง ใช้ฟันดึงสิ่งของ

หากดูแลรักษาฟันจะสามารถยืดอายุการใช้งานของฟันได้ยาวนาน

ทันตกรรมเอนโดดอนต์(Endodontist)

ทพญ.พาทินี พลาดิสัย
Dr.Pathnee Pladisai,DDS,MSc,FRCD

ENDODONTIST(ทันตกรรมเอนโดดอนต์-รักษาคลองรากฟัน)

2011 DDS (1st class honor) Chulalongkorn University
2016 MSc in Endodontic, Chulalongkorn University
2017 Diplomate Thai board in Endodontic (FRCD—Fellowship of the Royal College of Dentists of Thailand)

Research publication
International journal publication of “Journal of Endodontic” in March 2016 in the title of “Effectiveness of Different Disinfection Protocols in the Reduction of Enterococcus faecalis in Teeth with Large Root Canals”

ปี 2016 อาจารย์พิเศษ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ 
ปี 2020 กรรมการสอบวิจัย นิสิตหลังปริญญา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
ปี 2021-ปัจจุบัน อาจารย์พิเศษคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ทพญ. ณัชญาพร ทรัพย์ศรีโสภา
Dr.Nuchayaporn Shupsrisopa ,DDS

ENDODONTIST(ทันตกรรมเอนโดดอนต์-รักษาคลองรากฟัน)

  • Doctor of Dental Surgery (DDS) Faculty of Dentistry, Mahidol University
  • Graduate Diploma of Clinical Sciences Dentistry (endodontics), Chiang Mai University
ทพญ.ณัชญาพร ทรัพย์ศรีโสภา