คนไข้หลายคนถามมาว่า จะใช้เวลาในการรักษานานไหม ????
คำตอบคือขึ้นกับสภาวะของแต่ละเคส และแต่ละบุคคล!!
(บางเคสหลังผ่าตัดก็ได้ฟันใน 24 ชั่วโมง แต่บางเคสก็เป็นหลักหลายๆปี)
……………………………………………
ปัจจุบันเทคโนโลยีในทางการแพทย์ จะพัฒนาเพื่อให้การรักษาเร็วขึ้น ประสิทธิภาพดีขึ้น
แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องเคารพเสมอคือ “ธรรมชาติ”
เพราะธรรมชาติของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน
ถ้าเร่งได้ หมอจะเลือกวิธีที่เร่งให้ได้ผลเร็ว
แต่ถ้าไม่ได้ “มันคือไม่ได้” ต้องค่อยๆรักษาตามขั้นๆไปค่ะ
……………………………………………
โดยปกติการทำ Allon4,Allon6,AllonX จะเน้นการให้รากฟันเทียมอยู่ในกระดูกส่วนที่มีความหนาและละลายช้า
เช่น บริเวณคางในฟันล่าง หรือ ฐานกระดูกโซนด้านหน้า ในส่วนขากรรไกรบน
การรักษาจึงเลือกที่จะตัดแต่งกระดูกส่วนที่บางๆออกแล้วทำการใส่รากฟันเทียมในบริเวณหนาๆแทน เช่น บริเวณคางเป็นต้น
แต่สำหรับคนที่มีกระดูกบาง ….. (ส่วนมากที่เจอคนเอเชียจะกระดูกค่อนข้างบางมาก) ทำให้แทบไม่มีที่ สำหรับการใส่ราก การทำแบบ Conventional AllonX ก็จะไม่สามารถทำได้
จึงเหลือทางเลือก 2 ทาง
คือ
1.Zygomatic implant (หรือการใช้รากฟันเทียมขนาดยาวมากมาก ยึดกับส่วนโหนกแก้ม) ….
แบบนี้ต้องเข้าห้องผ่าตัด(OR)และดมยาสลบ
2.ทำภายใต้ยาชา ต้องเลือกที่จะปลูกกระดูกค่ะ
……………………………………………
เคสที่จะเล่าต่อไปนี้ทำเป็นแบบที่ 2 คือปลูกกระดูก
- คนไข้มาพบหมอด้วยโรคเหงือก ทำให้ฟันส่วนใหญ่ (ทั้งฟันบนและฟันล่างฝั่งขวาทั้งแถบไม่สามารถเก็บได้แล้ว)
- กระดูกแทบไม่มีทั้งขากรรไกรบน ส่วนขากรรไกรล่างค่อนข้างบาง
- การรักษาเริ่มจากการถอนฟันที่ติดเชื้อออก แล้วทำการยกไซนัสพร้อมปลูกกระดูกทั้งสองข้าง(ยกเยอะมากกกก จาก 1mm>15mm , ปลูกกระดูกตั้งแต่โซนหลังเขี้ยวไปจนถึงฟันกราม)
- ช่วงที่รอกระดูกที่ใส่ในไซนัสสร้างขึ้นมา ก็มาทำการปลูกกระดูกโซนด้านหน้าต่อ
- โดยทำการถอนฟันล่างที่เก็บไม่ได้ พร้อมกับเก็บกระดูกจากกรามบริเวณนั้นมาปลูกบริเวณโซนด้านหน้า
ระยะเวลาทั้งหมดก็เกือบสองปี ^^