นอนกัดฟัน

The American Academy of Sleep Medicine ได้ให้คำนิยามของ sleep Bruxismใน ICSD-3th ไว้ว่า“A repetitive jaw-muscle activity characterized by clenching or grinding of the teeth and/or by bracing or thrusting of the mandible.” หมายถึง การเคลื่อนที่ซ้ำของกล้ามเนื้อขากรรไกรโดยการขบเน้นหรือถูฟัน และ/หรือ แตะหรือผลักดันขากรรไกรล่าง

การนอนกัดฟันเป็นอาการของผู้ที่มีความผิดปกติด้านการบดเคี้ยว สามารถพบได้ตั้งแต่เด็กไป จนถึงผู้ใหญ่ ทั้งเพศชายและหญิง

อาการ /ผลกระทบจากการนอนกัดฟัน

1.การบดเคี้ยวฟันในขณะที่นอนหลับ อาจจะเกิดเสียงดังของการขบเน้นฟัน หรืออาจไม่มีเสียงก็ได้

2.ฟันสึก มีลักษณะแบนราบเรียบโดยเฉพาะปุ่มยอดฟัน ฟันแตก

3. ฟันสึก มีระดับความรุนแรงตั้งแต่ฟันสึกในชั้นของเคลือบฟัน เนื้อฟัน และสามารถสึกจนทะลุโพรงประสาทฟันได้ ซึ่งจะทำให้การบูรณะมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น

4.มีอาการเสียวฟันทั้งปาก

5.การเจ็บปวดขากรรไกรและใบหน้า

6.รบกวนการนอนหลับ มีเสียงบดเคี้ยวของฟัน รบกวนคนผู้อื่น ปวดเมื่อยขากรรไกรหลังตื่นนอน

7.เจ็บปวดจากการปวดหัว ปวดหู ปวดข้อต่อขากกรรไกรได้


สาเหตุของการนอนกัดฟัน

สาเหตุที่แท้จริงของการนอนกัดฟันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด และอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายๆอย่างเดิมเชื่อว่าการนอนกัดฟันเกิดจาก peripheral factors เช่น ลักษณะโครงสร้างของใบหน้า ความไม่สมดุลของกระดูกข้อต่อขากรรไกร ลักษณะรูปร่างของขากรรไกร การรบกวนการสบฟัน แต่ปัจจุบันเชื่อว่าการนอนกัดฟันเกิดจาก central factors เช่น การถูกรบกวนการนอนหลับ การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง การใช้ยาบางชนิด การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ คาเฟอีน พันธุกรรม การสูบบุหรี่ การขาดสารอาหาร(เช่น แคลเซียมและแมกนีเซียม) ตลอดจน ปัญหาทางจิตสังคมเช่น ความวิตกกังวล ความเครียด


วิธีการแก้ไขอาการนอนกัดฟัน

1.การปรับพฤติกรรม ลดควมเครียด ความกังวล นั่งสมาธิ ออกกำลังกายเพื่อความผ่อนคลาย

หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ คาเฟอีน การสูบบุหรี่

รับประทานอาหารให้ครบ 5หมู่

2. Occlusal management ทันตแพทย์แนะนำให้ใส่ เฝือกสบฟัน (occlusal splint) เพื่อลดการสึกของฟัน ตลอดจน ตรวจสอบการสบฟันว่ามีบริเวณใดที่สบสะดุด ควรได้รับการแก้ไขต่อไป

3. การรักษาด้วยยา เพื่อคลายกล้ามเนื้อ

4. พยายามจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการนอนหลับ ห้องมืดสนิท ปราศจากสิ่งรบกวน

5. biofeedback เพื่อกระตุ้นให้บุคคลเลิกทำพฤติกรรมไม่พึงประสงค์

ตัวอย่างการทำ occlusal management : Soft splint ผู้ป่วยรายนี้ ครอบครัวพบว่า ผู้ป่วยเริ่มมีการนอนกัดฟันตั้งแต่อายุ5 ขวบจนปัจจุบัน (20ปี) ได้รับการรักษาโดยการทำ soft splint

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *